โครงการ RECONECT (Regenarating ECOsystems with Nature-based solutions for hydro-meteorological risk rEduCTion)

29/10/2019

Regenarating ECOsystems with Nature-based solutions for hydro-meteorological risk rEduCTion หรือ RECONECT ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสหภาพยุโรป (European Commission) ภายใต้โครงการวิจัยและนวัตกรรม “HORIZON 2020 Research and Innovation Program” ซึ่งถือเป็นโครงการที่ให้เงินทุนสนับสนุนเพื่อการวิจัยด้าน “Research and Innovation” มากที่สุดของสหภาพยุโรป

โครงการ RECONECT โดย IHE Delft ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้รับผิดชอบหลักของโครงการ มีเป้าหมายในการดำเนินงานเพื่อเน้นการลดความเสี่ยงด้านน้ำและสภาพอากาศด้วยกรอบแนวทางธรรมชาติ หรือ Nature Based Solutions (NBS) ที่ออกแบบอย่างสมดุลระหว่าง คน-น้ำ-ธรรมชาติ (People-Water-Nature) ผ่านการกระบวนการมีส่วนร่วมและใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เหมาะสม (Grey-Green-Blue solutions) โดยอาศัยการทำงานในพื้นที่ต้นแบบในยุโรป (Demonstrators)  และนำตัวอย่างความสำเร็จจากเครือข่ายทั่วโลก (International Collaborators) ผ่านกรอบแนวคิดการทำงานตามแนวทาง NBS และคาดว่าจะขยายผลความสำเร็จ (Scaling) ทั้งในยุโรปและทั่วโลก โดยนำ NBS ไปปรับใช้ตามความเหมาะสม

โครงการ RECONECT นี้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561 และมีระยะเวลาทั้งสิ้น 60 เดือน โดยจะจัดประชุมเวียนไปยังประเทศต่างๆ เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อติดตามความก้าวหน้าและเยี่ยมชม NBS sites ของแต่ละประเทศ โดย สสน. ได้เข้าร่วมโครงการ RECONECT ในสองส่วนหลักคือ

1) Work Package 3: “Co-evaluation and Validation ร่วมเป็นคณะทำงานด้าน ICT platform เพื่อพัฒนาระบบติดตามประเมินผลความสำเร็จของพื้นที่ต้นแบบและพื้นที่ตัวอย่าง NBS ที่เป็นเครือข่ายใน RECONECT โดยอาศัยความชำนาญของ สสน. ในเรื่องเทคโนโลยีแสดงผลข้อมูล (Data Visualization) และ Mobile Application

2) Work Package 4: “Overcoming barriers, upscaling and synergies with collaboratorsร่วมเป็นหนึ่งใน International Collaborator เพื่อนำเสนอตัวอย่างความสำเร็จการจัดการน้ำชุมชนพื้นที่คลองรังสิต จ.ปทุมธานี ที่สามารถฟื้นฟูระบบคลองภายในพื้นที่คลอง 8-9-10 ให้สามารถรองรับการระบายน้ำหลากจากคลองระพีพัฒน์แยกตกในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

ตั้งแต่ปี 2561 สสน. ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการ RECONECT ดังนี้

การประชุม General Assembly Meeting ครั้งที่ 1 ณ เมือง Portofino สาธารณรัฐอิตาลี ระหว่างวันที่ 25 – 29 กันยายน 2561

สสน. เข้าร่วมการประชุมครั้งแรกของโครงการ RECONECT เพื่อร่วมกันวางแผนการทำงานในปีแรกและมองภาพความเชื่อมโยงของงานแต่ละส่วน (interdependencies) นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้ศึกษาดูงาน ที่ San Fruttuoso di Camogli ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ต้นแบบของโครงการ (Demonstrator) อีกด้วย

San Fruttuoso di Camogli หนึ่งในพื้นที่ต้นแบบของโครงการ (Demonstrator) ณ ประเทศอิตาลี

การประชุม General Assembly Meeting ครั้งที่ 2 ณ เมือง Zwolle ประเทศเนเธอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 7 – 11 พฤษภาคม 2562

การประชุมโครงการครั้งที่ 2 เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของงานและร่วมกันวางแผนงานเพื่อเตรียมนำเสนองานรอบแรกในเดือนกันยายน 2562 ซึ่งหลังจากดำเนินโครงการมาระยะหนึ่ง คณะทำงานทุกฝ่ายเห็นว่าทุก WPs ควรเร่งดำเนินงานขนานกันไป ดังนั้นการสื่อสาร บูรณาการและเชื่อมโยงงานให้สอดคล้องกันในแต่ละกิจกรรมจะเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้ศึกษาดูงานที่ Veessen – Wapenveld ซึ่งเป็นทางน้ำหลากกรณีฉุกเฉินของประเทศเนเธอร์แลนด์อีกด้วย (หนึ่งในพื้นที่โครงการ Room for the river) 

Veessen – Wapenveld ซึ่งเป็นทางน้ำหลากกรณีฉุกเฉินของประเทศเนเธอร์แลนด์

การประชุม General Assembly Meeting ครั้งที่ 3 ณ เมือง Nice ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 30 กันยายน – 3 ตุลาคม 2562

การประชุมโครงการครั้งที่ 3 เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของงาน และร่วมกันวางแผนการดำเนินงานขั้นต่อไป โดยสรุปให้การดำเนินงานทุก WPs เร่งดำเนินงานขนานกันไป ดังนั้นการสื่อสาร บูรณาการ และเชื่อมโยงงานให้สอดคล้องกันในแต่ละกิจกรรมจะเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ นอกจากนี้ได้พาสมาชิกศึกษาดูงาน 2 แห่ง คือ

1) Eco Valley ในตัวเมืองนีซ ซึ่งเป็นการพัฒนาเขตเมืองใหม่โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน นวัตกรรม และสถาปัตยกรรม

2) Var River ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของเมืองนีซ เดิมประสบปัญหาน้ำแล้ง จึงได้ปรับเปลี่ยน Gray infrastructure ไปเป็น Green infrastructure (Nature-based solution) ที่สามารถแก้ปัญหาน้ำเชิงพื้นที่

คุณผการัตน์ ดานุเสถียรพงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการน้ำชุมชน นำเสนอการดำเนินงานในพื้นที่คลองรังสิต
(พื้นที่ต้นแบบของประเทศไทย)

การประชุม General Assembly Meeting ครั้งที่ 4 ประชุมผ่านออนไลน์ (Virtual Meeting) ระหว่างวันที่ 19-20 และ 26-27 พฤศจิกายน 2563

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 การประชุมโครงการครั้งที่ 4 ต้องจัดผ่าน Video Conference โดยในการประชุมครั้งนี้ เน้นการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นของสมาชิกในแต่ละ Work Package ร่วมกัน ผ่านกิจกรรมออนไลน์ เช่น การร่วมตอบคำถาม มุมมอง ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรม อุปสรรค และแนวทางการดำเนินงานในอนาคต เป็นต้น

นอกจากนี้ ดร.สุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ เป็นผู้แทน สสน. นำเสนอความคืบหน้าในการดำเนินงานของ WP 4 ซึ่งเป็นการบูรณาการข้อมูลความสำเร็จการจัดการน้ำชุมชนพื้นที่คลองรังสิต จังหวัดปทุมธานี ที่สามารถฟื้นฟูระบบคลองภายในพื้นที่คลอง 8-9-10 ให้สามารถรองรับการระบายน้ำหลากจากคลองระพีพัฒน์แยกตกในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วยกรอบแนวทางธรรมชาติ หรือ Nature Based Solutions (NBS) ซึ่งเป็น Concept ของโครงการ

การประชุม General Assembly Meeting ครั้งที่ 5 ประชุมผ่านออนไลน์ (Virtual Meeting) ระหว่างวันที่ 10-11และ 16-18 มิถุนายน 2564

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 การประชุมโครงการครั้งที่ 5 ยังคงจัดผ่าน Video Conference โดยในการประชุมครั้งนี้ เน้นการรายงานความคืบหน้าในการทำงานของแต่ละ Work Package และการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นของสมาชิก

ในการประชุมดังกล่าว ดร.สุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร ได้นำเสนอข้อมูลการจัดการน้ำชุมชมพื้นที่ทุ่งรังสิต ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สามารถฟื้นฟูระบบคลองในพื้นที่คลอง 8-9-10 ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาด้วยกรอบแนวทางธรรมชาติ ตรงกับเป้าหมายของโครงการฯ

นอกจากนี้ ยังได้เข้าร่วมกิจกรรม Kick-off working with Co-Production & Reflexive Monitoring ซึ่งเป็นการลงลึกการวิเคราะห์พื้นที่ตัวอย่าง และกระบวนการดำเนินงาน พร้อมทั้งจับคู่และแชร์มุมมอง ทัศนะคติร่วมกับนานาประเทศ เพื่อนำแนวทางดังกล่าวกลับมาพัฒนาการทำงานของสสน. ต่อไปในอนาคต

การประชุม General Assembly Meeting ครั้งที่ 6 ประชุมผ่านออนไลน์ ระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน และ 2-3 ธันวาคม 2564

วันที่ 25-26 พฤศจิกายน และ 2-3 ธันวาคม 2564 สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ หรือ สสน. นำโดย นางสาวจารุมน ลิ้มทิพย์ดารา ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีและดิจิทัล, ดร.สุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ และผู้แทนจากฝ่าย ฝ่ายจัดการน้ำชุมชนและฝ่ายโครงการพิเศษ ประสานความร่วมมือ และสื่อสารองค์กร เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ General Assembly Meeting ครั้งที่ 6 ในโครงการ RECONECT (Regenarating ECOsystems with Nature-based solutions for hydro-meteorological risk rEduCTion) ซึ่งเป็นโครงการสำคัญระดับโลก นำโดย IHE Delft ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสหภาพยุโรป

ในการประชุมดังกล่าว สสน. ในฐานะ International Collaborator ได้นำเสนอข้อมูลและวิธีแก้ปัญหาด้านการจัดการน้ำชุมชมพื้นที่ทุ่งรังสิต ลุ่มน้ำเจ้าพระยา รวมถึงการใช้แบบจำลองด้านน้ำ (Existing hydrodynamic models) เพื่อติดตามสถานการณ์ต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และแผนการดำเนินงานในอนาคต

การประชุม General Assembly Meeting ครั้งที่ 7 ผ่านออนไลน์ ระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2565

วันที่ 23-25 พฤษภาคม 2565 สสน. นำโดย ดร.สุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ และผู้แทนจากฝ่ายจัดการน้ำชุมชนและฝ่ายโครงการพิเศษ ประสานความร่วมมือ และสื่อสารองค์กร เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ General Assembly Meeting ครั้งที่ 7 ในโครงการ RECONECT (Regenarating ECOsystems with Nature-based solutions for hydro-meteorological risk rEduCTion) ซึ่งเป็นโครงการสำคัญระดับโลก นำโดย IHE Delft ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสหภาพยุโรป มุ่งเน้นการลดความเสี่ยงด้านน้ำและสภาพอากาศด้วยกรอบแนวทางธรรมชาติ Nature Based Solutions (NBS) ที่ออกแบบอย่างสมดุลระหว่าง คน-น้ำ-ธรรมชาติ (People-Water-Nature)

ในการประชุมดังกล่าว สสน. ในฐานะ International Collaborator ได้นำเสนอข้อมูลและวิธีแก้ปัญหาด้านการจัดการน้ำชุมชมพื้นที่ทุ่งรังสิต ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ด้วยการใช้แบบจำลองด้านน้ำ (Existing hydrodynamic models) การวิเคราะห์และคาดการณ์การจัดเก็บน้ำในร่องสวนปาล์ม และการสำรวจด้วยรถ Mobile Mapping System (MMS) เพื่อเก็บข้อมูลพื้นที่ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งนำไปสู่การเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติในอนาคตต่อไป

การประชุม General Assembly Meeting ครั้งที่ 8 ระหว่างวันที่ 19 – 27 พฤศจิกายน 2565 ณ เมือง Nijmegen ประเทศเนเธอร์แลนด์

messageImage 1669108794954

วันที่ 19 – 27 พฤศจิกายน 2565 สสน. นำโดย ดร.สุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมสารสนเทศทรัพยากรน้ำ และนางสาวศราวดี ภัทรกิจกุลธร หัวหน้างานประสานงานและวิเคราะห์โครงการ ฝ่ายจัดการน้ำชุมชน
เข้าร่วมการประชุม General Assembly Meeting ครั้งที่ 8 ณ เมือง Nijmegen ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งโครงการ RECONECT ถือเป็นโครงการสำคัญระดับโลก นำโดย IHE Delft ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสหภาพยุโรป มีจุดประสงคือมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงด้านน้ำและสภาพอากาศด้วยกรอบแนวทางธรรมชาติ Nature Based Solutions (NBS) ที่ออกแบบอย่างสมดุลระหว่าง คน-น้ำ-ธรรมชาติ (People-Water-Nature)

828692
นางสาวศราวดี ภัทรกิจกุลธร หัวหน้างานประสานงานและวิเคราะห์โครงการ ฝ่ายจัดการน้ำชุมชน
นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา

ในการประชุมดังกล่าว สสน. ในฐานะ International Collaborator ได้นำเสนอความก้าวหน้าการจัดการน้ำชุมชมจากพื้นที่ทุ่งรังสิตที่สามารถใช้ได้จริงในเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2565 โดยการเตรียมการในพื้นที่ ขุดลอกระบบคลองภายในพื้นที่คลอง 8-9-10 ให้สามารถรองรับการระบายน้ำหลากจากคลองระพีพัฒน์ ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้ก่อนฤดูฝน และได้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในคลองสายหลัก รวมถึงนำเสนอผลการวิเคราะห์ด้านการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในจังหวัดปทุมธานีที่อาจทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น หรือ Climate Extremes

827508
827509
827511

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้ศึกษาดูงานในพื้นที่โครงการ Room for the river ดังนี้

  • เมือง Kampen ที่มีโครงการ Bypass Reevendiep เป็นเมืองที่มีแม่น้ำ Rhine สายหลักของประเทศมีต้นกำเนิดในสวิสเซอร์แลนด์ ไหลผ่านเยอรมนี และมาออกทะเลที่เนเธอร์แลนด์ ซึ่งในประเทศเนเธอร์แลนด์จะเรียกชื่อใหม่เป็นแม่น้ำ Waal และประมาณ 1 ใน 9 ของแม่น้ำ Waal จะไหลผ่านแม่น้ำ Ijssel มาทางทิศเหนือของประเทศ ณ เมือง Kampen สู่ทะเลสาบ Markermeer ซึ่งทำให้เมือง Kampen มีน้ำท่วมเป็นประจำ จึงต้องทำ bypass เพื่อเพิ่มระบบเส้นทางระบายน้ำ นอกจากนี้การมีส่วนร่วมในพื้นที่นี้ใช้หลักคิดเปลี่ยนจาก Stakeholder เป็น Shareholder อีกด้วย
  • เมือง Munnikenland (Sleeuwijk) and Biesbosch Noordwaard เป็นพื้นทีปลายแม่น้ำ Waal และประมาณ 2 ใน 3 ของแม่น้ำ Waal จะไหลบริเวณนี้ก่อนออกทะเล จึงจำเป็นต้องเพิ่มเส้นทางน้ำหลาก แต่ในพื้นที่ยังมีการทำเกษตรบางส่วนอยู่ จึงต้องปรับระบบป้องกันน้ำหลากด้วยระบบคันกั้นน้ำ (polder) โดยพื้นที่นี้มีจุดเด่นเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ คือ หลังจากโครงการดังกล่าวสร้างเสร็จแล้ว และได้มีการปล่อยน้ำหลากผ่านพื้นที่ทางน้ำหลากในฤดูน้ำมาก และพื้นที่ชุ่มน้ำในฤดูน้ำน้อย ระยะเวลาเพียงแค่ 1 ปี สามารถก่อให้เกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ทันที ปัจจุบันผ่านมา 6 ปี พื้นที่นี้พบว่ามีเหยี่ยวออสเปร (Osprey) ซึ่งเป็นสัตว์สงวน จำนวน 3 คู่มาอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวแล้ว
  • Zandmortor (Sand Engine) ใกล้เมือง Den Haag ซึ่งในปี 2011 มีแนวคิดที่จะสร้างแนวป้องกันชายฝั่งจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและกระแสลมพัดพาเนินทรายเข้าสู่ตัวเมือง จึงมีการนำทรายจำนวนมหาศาลสร้างเป็นเนินทรายเทียมเพื่อเป็นแนวกันชนระหว่างทะเลและเมือง หลักจากผ่านไปพบว่าเกิดสมดุลชายหาด โดยเกิดชายหาดใหม่และมีขนาดใหญ่ขึ้น ปัจจุบันเป้นสถานที่พักผ่อนสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่นว่าว ฯลฯ

“This page is an outcome of the RECONECT project (Regenerating ECOsystems with Nature-based solutions for hydro-meteorological risk rEduCTion). This project has received funding from the European Union’s Horizon 2020 Research and Innovation Programme under grant agreement No 776866”.

ข่าวอื่นๆ