โครงการ CLIMATE RESILIENT AGRICULTURE FOR DISASTER RISK REDUCTION หรือ CRADR

25/02/2021

ความเป็นมา: โครงการ CRADR ได้รับทุนสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งโครงการดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือของคณะทำงานด้านการบรรเทาภัยพิบัติ (DMWG) และคณะทำงานด้านการเกษตร (AgWG) ที่ . เป็นสมาชิกภายใต้โครงการเครือข่าย Asia – Pacific Advanced Network หรือ APAN ซึ่งถือเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานวิจัยและสถาบันการศึกษาในประเทศสมาชิกทั่วโลก โครงการดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการเกษตรในพื้นที่ตัวอย่าง คือ และนำสมัยใหม่ของคณะทำงานร่วมที่มาจากหลากหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินเดีย มาปรับใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าวและพัฒนาให้เกิดเป็นการทำเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) พร้อมกับแบ่งปันและขยายผลแก่สมาชิก

ผู้สนับสนุน : TEIN*CC ภายใต้อำนาจคณะกรรมาธิการยุโรป

จุดประสงค์: เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการเกษตรในพื้นที่ตัวอย่างจังหวัดแพร่ และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ของคณะทำงานร่วมที่มาจากหลากหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินเดีย มาปรับใช้ในการแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อพัฒนาให้เกิดเป็นการทำเกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture) พร้อมกับแบ่งปันความรู้และขยายผลการดำเนินงานไปยังสมาชิกคลังข้อมูลแห่งอาเซียนและหน่วยงานพันธมิตร

ระยะเวลาดำเนินโครงการ: ธันวาคม 2563 – พฤษภาคม 2564 (6 เดือน)

จำนวนผู้เข้าร่วมงาน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 3 Workshop ทั้งหมด 190 ราย จาก 12 ประเทศได้แก่ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิลปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม

รายชื่อสมาชิกในคณะทำงานร่วม:

แผนกิจกรรมภายใต้โครงการ CRADR

ภาพการประชุมร่วมกันของสมาชิกในโครงการ CRADR

ผลได้รับจากการดำเนินโครงการ

  1. อบรมการใช้สารสนเทศให้แก่ศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดแพร่ (District Real-time Information)
    สสน. ได้จัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่หลักของหน่วยงานท้องถิ่นจังหวัดแพร่ อาทิ ศูนย์บริหารจัดการน้ำจังหวัดแพร่ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงจังหวัดแพร่ ฯลฯ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสภาพอากาศ และอื่นๆ จากระบบหลักของสสน. เพื่อนำไปเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์อุปสงค์-อุปทานของการใช้น้ำ (Water Demand & Supply) แบบเจาะรายจังหวัด และการใช้แบบจำลองคาดการณ์น้ำท่วมและน้ำแล้ง เพื่อวางแผนการใช้น้ำ และวางแผนการเพาะปลูกให้เกษตรกรในจังหวัด การแจ้งเตือนภัยพิบัติ รวมถึงผลกระทบต่างๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในท้องถิ่นที่ เพื่อนำไปปรับให้เหมาะสมในการวางแผนผลิตทางการเกษตรและในอนาคต โดยข้อมูลดังกล่าวจะเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ “ศูนย์ปฏิบัติการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจังหวัด : จังหวัดแพร่” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สปท. ประเทศไทย ผ่านเว็บไซต์ http://phrae.thaiwater.net โดยเนื้อหาในเว็บไซต์สามารถแบ่งออกเป็นสี่ส่วนหลักได้แก่ 1) การตรวจสอบ 2) การพยากรณ์ 3) ระบบสารสนเทศภูมิสารสนเทศ (GIS) และ 4) สถิติต่างๆ
  1. ข้อเท็จจริงจากการประเมินสภาพภูมิอากาศด้วยพารามิเตอร์ด้านอุตุนิยมวิทยา ที่ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร (The Evaluation of Meteorological Parameters Impact on Agricultural Production for Climate-resilience Agriculture (Fact finding)
    สสน. ได้วิเคราะห์สภาพภูมิอากาศด้วยพารามิเตอร์ด้านอุตุนิยมวิทยา โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่
    2.1 การวิเคราะห์ปริมาณน้ำฝน (Rainfall analysis) ซึ่งเป็นดัชนีที่คำนวนจากปริมาณน้ำฝนรายวันของกรมอุตุนิยมวิทยาไทยและข้อมูลการไหลเวียนทั่วโลก (5 CMIP6X, CESM2, MRI-ESM2-0, BCC-CSM2-MR, GFDL-ESM4 และ CanESM โดยได้ผลสรุปแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่
  • ระดับประเทศไทย ปริมาณน้ำฝนรายเดือนมีแนวโน้มลดลงในช่วงต้นฤดูฝน (มี.ค. – ก.ค.) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงปลายฤดูฝน (ส.ค. – ก.พ.) ส่วนปริมาณน้ำฝนรายปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 2.25% ถึง 6.02%
  • ระดับจังหวัดแพร่ ปริมาณน้ำฝนรายเดือนมีแนวโน้มลดลงในช่วงต้นฤดูฝน (มี.ค. – ก.ค.) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงปลายฤดูฝน (ส.ค. – ก.พ.) ส่วนปริมาณน้ำฝนรายปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 2.54% เป็น 15.16

2.2 การวิเคราะห์สภาวะสุดขั้วของสภาพภูมิอากาศ (Extreme Climate) เป็นการวิเคราะห์ดัชนีปริมาณน้ำฝนที่มากที่สุดจากการติดตามปริมาณน้ำฝนรายวัน การจากวิเคราะห์ของประเทศไทย พบว่าดัชนีปริมาณน้ำฝนที่มากที่สุด ได้แก่
– จำนวนวันที่ฝนตกต่อเนื่องกัน (CWD) มีจำนวน 31.65 วัน
– จำนวนวันที่แล้งต่อเนื่องกัน (CDD) มีจำนวน 71.89 วัน
– จำนวนวันที่ฝนตกหนัก (R30 มม.) มีจำนวน 6.15 วัน
– ปริมาณน้ำฝนมากที่สุดใน 1 วันคือ 84.12 มม. / ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงสุดใน 5 วันคือ 172.12 มม.
– สัดส่วนรายปีจากวันที่มีปริมาณน้ำฝนมาก (R95pT) คือ 0.28 และดัชนีความเข้มรายวัน (SDII) คือ 8.32 มม. /วัน

2.3 ผลกระทบทางการเกษตร จากการวิเคราะห์มีการคาดการณ์ความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วงปีพ.ศ. 2558-2582 โดยการวิเคราะห์จะเน้นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ ได้แก่ ข้าว และข้าวโพด โดยผลผลิตข้าวนาปีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3% ในแบบจำลอง SSP245 และ 1% ในแบบจำลอง SSP585 ผลผลิตข้าวนาปีมีแนวโน้มลดลง 13% ในแบบจำลอง SSP245 และ 31% ในแบบจำลอง SSP585 ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น 1% ในแบบจำลอง SSP245 และลดลง 7% ในแบบจำลอง SSP585
ในส่วนของความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตร ในส่วนของข้าวนาปีมีแนวโน้มลดลง 41% ในแบบจำลอง SSP245 และ 50% ในแบบจำลอง SSP585 มีโอกาสเกิดขึ้น 56% ในแบบจำลอง SSP245 และ 60% ในแบบจำลอง SSP585 ในส่วนของข้าวโพดมีแนวโน้มลดลง 36% ในแบบจำลอง SSP245 และ 38% ในแบบจำลอง SSP585 ความเป็นไปได้ของการเกิด 52% ในแบบจำลอง SSP245 และ 56% ในแบบจำลอง SSP585

2.4 การวิเคราะห์สมดุลน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยป้อม อ่างเก็บน้ำห้วยป้อม ถือเป็นแหล่งน้ำหลักของชุมชนบ้านเหล่าเหนือ โดยการวิเคราะห์ดังกล่าวเพื่อหาปริมาณน้ำที่เพียงพอในบริเวณดังกล่าว โดยความสมดุลน้ำของอ่างเก็บน้ำจะถูกวิเคราะห์ตามปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดของข้อมูล GCM ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าการจัดเก็บน้ำเข้าสู่อ่างเก็บน้ำมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย และมีปริมาณลดลงอย่างมากในเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูก โดยเกษตรกรอาจหลีกเลี่ยงการเพาะปลูกในช่วงต้นฤดูฝน (พฤษภาคมและกรกฎาคม) เนื่องจากการกักเก็บน้ำในอ่างลดลง และอาจไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงเดือนดังกล่าว

แผนภูมิแสดงปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยป้อม
  1. การบูรณาการข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการทำเกษตรอัจฉริยะ
    ข้อมูลด้านสภาพอากาศและน้ำถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ การวางแผนการจัดการน้ำ และสนับสนุนการตัดสินใจอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ซึ่งการดำเนินโครงการ CRADR ทำให้เกิดการบูรณาการข้อมูลดังกล่าว รวมกับข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อให้เกิดแบบแผนในการทำเกษตรอัจฉริยะภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเริ่มจากข้อมูลประดับประเทศ (National Level) หรือ คลังแห่งชาติ (NHC: National Hydroinformatics Data Center) ที่สามารถเป็นระบบข้อมูลหลักที่ให้ศูนย์น้ำระดับจังหวัด (Provincial Level) สามารถนำข้อมูลดังลกล่าวไปวิเคราะห์ และวางแผนการทำเกษตรในท้องถิ่น รวมถึงการแจ้งเตือนภัยต่างๆ ไปสู่ระดับชุมชน (Community Level) ซึ่งถือเป็นผู้ที่นำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับใช้ในการทำกษตร เพื่อลดความสูญเสียผลผลิตต่างๆ ได้

แผนการดำเนินโครงการในอนาคต

จากโครงการ CRADR ทำให้ สสน. ได้กำหนดกรอบการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 (Standard) มุ่งเน้นการจัดเก็บและบริหารข้อมูลต่างๆ ด้วยตนเอง และการเตรียมตัวเพื่อพัฒนาต่อไปในระยะที่ 2 (Advance) และ 3 (Professional) ซึ่งถือเป็นระยะสูงสุดของการจัดการและการประยุกต์ใช้สารสนเทศ ใน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับชุมชน ระดับจังหวัด และหน่วยงานสนับสนุน (คณะทำงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ASGC, UT, NARO, IITB, สสน. และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง)

นอกจากแผนการพัฒนาศักยภาพของการบริหารจัดการสารสนเทศข้างต้น คณะทำงานได้วางแผนการดำเนินโครงการ CRADR ในระยะที่ 2 (Phase 2) เพื่อเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ตัวอย่างด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมร่วมกับคณะทำงานจากต่างประเทศ โดยตั้งเป้าหมายจะพัฒนาพื้นที่ศึกษาในจังหวัดแพร่ให้เป็นตัวอย่างสำหรับขยายผลไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และจะขยายไปยังภูมิภาคอาเซียนในระยะต่อไป

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ ที่นี่

ข่าวอื่นๆ