รางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:48, 6 กุมภาพันธ์ 2552 โดย Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
 

นักประดิษฐ์คิดค้นและนักพัฒนา พระมหากษัตริย์ผู้มีพระอัจฉริยภาพสูง

ไวโป.jpg

ดร.ฟรานซิส เกอร์รี่ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (ไวโป) ซึ่งสำนักงานอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Wipo Global Leaders Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงมีพระราชกรณียกิจเป็นที่ประจักษ์ในการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2552


ไวโป ซึ่งเป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ มีสมาชิก 184 ประเทศ ได้มีมติในเดือนมกราคม 2550 ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับรางวัลดังกล่าว เนื่องจากพระองค์ได้ทรงมีพระราชกรณียกิจอันเป็นที่ประจักษ์อย่างกว้างขวางทั่วโลกว่าทรงเป็นนักประดิษฐ์ และทรงมีบทบาทส่งเสริมการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการพัฒนา นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นศิลปินที่มีผลงานมากกว่า จำนวน 1,000 รายการ อาทิ ศิลปวัฒนธรรม|งานศิลปกรรม จิตรกรรม ภาพถ่าย บทเพลง และวรรณกรรม

ผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ คือ เทคโนโลยีการทำฝนเทียม ซึ่งนำความชุ่มชื้นมาสู่ผืนดิน สามารถช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้งได้ด้วยดี โครงการฝนหลวงนับว่าเป็นโครงการหนึ่งของโครงการในพระราชดำริซึ่งมีมากกว่า 4,000 โครงการ สำหรับโครงการอื่นๆ เกี่ยวข้องกับการชลประทาน เกษตรกรรม ภัยแล้ง การแก้ปัญหาน้ำท่วม การปลูกพืชทดแทน สาธารณสุข การเรียนการสอนทางไกลและการส่งเสริมอาชีพ

ผลงานการประดิษฐ์คิดค้นอื่นๆ ที่เป็นที่ประจักษ์ด้วย คือ กังหันน้ำชัยพัฒนา ซึ่งได้พัฒนาขึ้นด้วยต้นทุนต่ำ เพื่อช่วยแก้ปัญหามลภาวะในแม่น้ำ คลอง หนอง บึง และในพื้นที่ที่ไม่มีระบบการจัดการน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างของโครงการบำบัดน้ำเสียหลักๆ ที่นำกังหันน้ำชัยพัฒนาไปใช้ได้แก่ บึงมักกะสัน ลากูน ซึ่งริเริ่มโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในพระราชวังบางปะอิน ซึ่งดำเนินการร่วมกับชุมชนธุรกิจเยอรมัน ปัจจุบันกังหันน้ำชัยพัฒนาได้นำมาใช้อย่างกว้างขวางเพื่อบำบัดน้ำเสียทั้งในกรุงเทพและในถิ่นชนบท นอกจากนี้พระองค์ยังคิดค้นเทคนิคในการผลิตน้ำมันดีเซลจากปาล์ม สำหรับเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก และเทคนิคการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว

ในการดำเนินโครงการในพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งศึกษาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนที่จะย้ายไปศึกษากฎหมายและรัฐศาสตร์เพื่อเตรียมการสำหรับภารกิจของพระมหากษัตริย์ ได้คิดค้นและพัฒนาเครื่องมือและเทคนิคต่างๆ ที่เหมาะสมต่อปัญหาเฉพาะหน้าและพื้นที่เกี่ยวข้อง โดยพระองค์ได้ใช้พื้นที่ส่วนใหญ่ในพระตำหนักจิตรลดาเป็นห้องปฏิบัติการวิจัย และทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการในพระราชดำริ

ที่ผ่านมา มีการจดทะเบียนสิทธิบัตรถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมากกว่า 20 รายการและเครื่องหมายการค้าอีกจำนวน 19 รายการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการถวายสิทธิบัตรในการทำฝนหลวง ในปี 2542 และ 2546 และด้วยเทคนิค "ซุปเปอร์แซนวิช" ที่ใช้สารเคมิให้เมฆก่อตัวใน 2 ระดับ ทำให้ได้รับการจดสิทธิบัตรจากยุโรป ในปี 2548 ภายใต้ชื่อ "การดัดแปลงสภาพอากาศโดยเทคโนโลยีฝนหลวง"

สำหรับกังหันน้ำชัยพัฒนา ได้รับการจดสิทธิบัตรในปี 2536 และได้รับรางวัลต่างๆ อีกหลายรางวัล โดยได้รับรางวัล "ยูเรกา 2000" ในงานนิทรรศการนวัตกรรมโลก ครั้งที่ 49 ณ กรุงบรัซเซลล์ ในเดือนพฤศจิกายน 2543 นอกจากนี้ ยังมีผลงานอื่นๆ ที่ได้รับรางวัลในงานนิทรรศการนวัตกรรมโลก ในปี 2544 เช่น โครงการน้ำมันไบโอดีเซล สูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม โครงการทฤษฎีใหม่ และโครงการฝนหลวง

โครงการในพระราชดำริได้พัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวไทยให้ดีขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกรทั่วประเทศที่เกษตรกรรมยังคงเป็นส่วนสำคัญของชีวิต แม้แต่คนกรุงเทพ ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมและการจราจรติดขัด ก็ได้รับประโยชน์จากโครงการในพระราชดำริ ซึ่งช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของคนกรุงด้วย

การทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล ผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา เป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนไทยสะท้อนถึงพระอัจฉริยภาพ และพระวิริยะอันสูงส่งในการทรงเป็นผู้นำการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาของพระองค์ เป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อคุ้มครองผลงานในนวัตกรรมต่างๆ ซึ่งจะดลใจให้รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับทรัพย์สินทางปัญญาในทางนโยบายด้วย รวมทั้งเยาวชนไทยได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่จะเป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติต่อไป


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: http://www.mfa.go.th/web/2642.php?id=28109