การใช้แม่แบบ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:19, 27 กุมภาพันธ์ 2551 โดย Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
Wiki subjects
โครงสร้าง
การแก้ไข้หน้าบทความ
เทคนิคการแก้ไขหน้า

การใช้แม่แบบ (template) คือการสร้างหน้ารูปแบบหลักเพื่อใช้หน้านั้นได้กับหลายๆ หน้า ไม่ต้องเขียนคำสั่งซ้ำใหม่อีกครั้ง วัตถุประสงค์หลักๆ ของการใช้แม่แบบคือ


  1. ไม่ต้องเขียนคำสั่งเดิมๆ ซ้ำหลายครั้ง ประหยัดเวลา และประหยัดพื้นที่ในหน้าแก้ไข
  2. ป้องกันการเขียนข้อมูลเนื้อความเดียวกันเรื่องเดียวกันไม่ตรงกันเมื่อปรากฏที่คนละหน้า
  3. ช่วยให้การแก้ไขเนื้อหาส่วนเดียวกันที่มีอยู่หลายๆ หน้า ให้แก้ไขเพียงที่เดียวแล้วมีผลเปลี่ยนแปลงกับทุกหน้า ทั้งยังป้องกันการตกหล่นของข้อมูลหากต้องแก้เนื้อความเดียวกันที่หลายหน้า

เริ่มสร้างแม่แบบที่

การเริ่มสร้างแม่แบบมีวิธีการสร้างเช่นเดียวกับการเริ่มสร้างบทความใหม่ โดยใช้รูปแบบคำสั่งดังนี้ที่หน้าแม่แบบ

[[template:ชื่อแม่แบบ]]

รูปแบบของแม่แบบ

แม่แบบในวิกิพีเดียแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลักๆ คือ

แม่แบบคงที่

หมายถึงแม่แบบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าตัวแปรในการเรียกใช้ เมื่อแม่แบบนั้นๆ ปรากฏที่หลายหน้าบทความ ก็จะมีลักษณะและเนื้อหาเดียวกัน เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของแม่แบบก็สามารถแก้ไขรูปแบบคำสั่งได้ แม่แบบเดียวกันที่ปรากฏในหน้าบทความอื่นๆ ก็จะเปลี่ยนแปลงตามรูปแบบที่แก้ไขในแม่แบบต้นฉบับนั้น ตัวอย่างเช่น แม่แบบของตารางเนื้อหาในบทความ Wikipedia learning ซึ่งต้องการให้ตารางนี้ปรากฏที่มุมขวาของทุกหน้าเนื้อหาเหมือนกัน ก็จะกำหนดแม่แบบขึ้นมาด้วยการสร้างชื่อแม่แบบที่หน้าบทความแม่แบบก่อน ด้วยคำสั่งดังนี้

[[Template:Wiki subject]]

หลังจากตั้งชื่อแม่แบบแล้ว ต่อไปคือการสร้างรูปแบบของแม่แบบนั้นที่ต้องการ โดยใช้คำสั่งข้อความเช่นเดียวกับการแก้ไขบทความหน้าอื่นๆ ตัวอย่างเช่น แม่แบบ Wiki subject กำหนดคำสั่งดังต่อไปนี้

{|cell Link titlelpadding="0" cellspacing="0" style="padding: 0.3em; float:right; margin-left:15px;
 border: 1px solid #000080; background:#f5faff; text-align:center; font-size:95%;"
|<center>'''[[Wiki subjects]]'''</center>
|-
| style="background: #cedff2; padding: 3px 5px; text-align:center;" |'''[[Structure|โครงสร้าง]]'''
|-
|style="padding: 0.3em; line-height: 1.5em; text-align:left;"| 
*[[การเข้าระบบ]]
*[[หน้าเนื้อหา]]
*[[หน้าแก้ไขบทความ]]
*[[หน้าสนทนาผู้ใช้]]
*[[หน้าบันทึกประวัติการแก้ไข]]
*[[การติดตามเฝ้าดู]]
*[[บันทึกการปรับปรุงเนื้อหา]]
*[[หน้าพิเศษ]]

|-
| style="background: #cedff2; padding: 3px 5px; text-align:center;" |'''[[Page Editing|การแก้ไข้หน้าบทความ]]'''
|-
|style="padding: 0.3em; line-height: 1.5em; text-align:left;"| 
*[[start new pages|การเริ่มหน้าบทความ]]
*[[basic editing|การแก้ไขหน้าพื้นฐาน]]
*[[basic code|คำสั่งพื้นฐาน]]
*[[list format|รูปแบบรายการลำดับ]]
*[[magic word|คำสั่งพิเศษ]]
*[[redirect|หน้าเปลี่ยนทาง]]
*[[moving a page|การโยกย้ายหน้า]]
*[[reverting edits|การย้อนกลับการแก้ไข]]
*[[เทคนิคต่างๆ]]
|-
| style="background: #cedff2; padding: 3px 5px; text-align:center;" |'''[[How to edit|เทคนิคการแก้ไขหน้า]]'''
|-
|style="padding: 0.3em; line-height: 1.5em; text-align:left;"| 
*[[table|การสร้างตาราง]]
*[[links|การสร้างลิงก์]]
*[[image|การแทรกภาพ]]
*[[media|การแทรกสื่ออื่นๆ]]
*[[category|การจัดหมวดหมู่]]
*[[template|การใช้แม่แบบ]]
*[[แหล่งข้อมูล]]
|}

เมื่อกำหนดรูปแบบแม่แบบที่ต้องการแล้ว เมื่อต้องการใช้แม่แบบนั้นๆ ในบทความหน้าใดๆ ก็มีวิธีการเรียกใช้คือ ใช้คำสั่ง { สองครั้งคร่อมชื่อแม่แบบที่ต้องการ แม่แบบที่กำหนดไว้ก็จะปรากฏในหน้าและตำแหน่งที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น

{{Wiki subject}}

ทุกครั้งที่เรียกแม่แบบ Wiki subject ก็จะปรากฏกรอบตารางเนื้อหาที่ด้านข้างดังนี้

Wiki subjects
โครงสร้าง
การแก้ไข้หน้าบทความ
เทคนิคการแก้ไขหน้า


แม่แบบที่กำหนดตัวแปร

นอกจากแม่แบบแบบคงที่ที่ไม่ต้องกำหนดค่าตัวแปรแล้ว ยังมีแม่แบบที่ใช้กันมากในวิกิพีเดียก็คือแม่แบบที่กำหนดค่าตัวแปร รูปแบบต่างๆ ของการใช้ตัวแปรมีดังต่อไปนี้

  • กำหนดชื่อตัวแปร

การใช้ตัวแปรทำได้โดยใช้เครื่องหมายปีกกา (}) สามชั้น ดังนี้ {{{ชื่อตัวแปร}}} เมื่อต้องการเรียกใช้จะแทนชื่อตัวแปรด้วยค่าที่กำหนด แล้วตามด้วยเครื่องหมายเท่ากับ ตัวอย่างเช่น แม่แบบที่ต้องการบอกชื่อหนังสือและชื่อผู้แต่ง จึงทำแม่แบบด้วยการกำหนดชื่อแม่แบบว่า


[[template:หนังสือ]]

โดยกำหนดรูปแบบแม่แบบดังนี้

'''{{{หนังสือ}}}''' ผู้ประพันธ์คือ ''{{{ผู้แต่ง}}}'' โดยสำนักพิมพ์{{{สำนักพิมพ์}}}

เมื่อต้องการเรียกใช้แม่แบบจะกำหนดคำสั่งใช้คำที่ต้องการแทนชื่อตัวแปร ตามด้วยเครื่องหมาย = เมื่อมีหลายตัวแปรคั่นด้วยเครื่องหมาย | ที่ระหว่างตัวแปรแต่ละตัว ดังนี้

{{หนังสือ|หนังสือ=เอกภพ สรรพสิ่ง และมนุษยชาติ|ผู้แต่ง=รอฮีม ปรามาท|สำนักพิมพ์=มติชน}}

ผลที่ได้คือ

เอกภพ สรรพสิ่ง และมนุษยชาติ ผู้ประพันธ์คือ รอฮีม ปรามาท โดยสำนักพิมพ์มติชน

  • กำหนดลำดับตัวแปร

ในกรณีที่ไม่ได้กำหนดชื่อตัวแปร แต่มีหลายตัวแปรในแม่แบบ สามารถกำหนดเป็นลำดับตัวเลข และเมื่อเรียกใช้แม่แบบก็แทนค่าตัวเลขด้วยคำที่กำหนด และคั่นด้วยเครื่องหมาย | ที่ระหว่างตัวแปรแต่ละตัว ตัวอย่างเช่น

[[template:หนังสือ]]

กำหนดไว้ดังนี้

'''{{{1}}}''' ผู้ประพันธ์คือ ''{{{2}}}'' โดยสำนักพิมพ์{{{3}}}

เมื่อเรียกใช้แม่แบบแทนค่าตัวแปลดังนี้

{{หนังสือ|เอกภพ สรรพสิ่ง และมนุษยชาติ|รอฮีม ปรามาท|มติชน}}

เมื่อแสดงผลแม่แบบเป็นดังนี้

เอกภพ สรรพสิ่ง และมนุษยชาติ ผู้ประพันธ์คือ รอฮีม ปรามาท โดยสำนักพิมพ์มติชน

ตัวแปรอัตโนมัติ

นอกจากตัวแปรที่กำหนดเป็นชื่อตัวแปร หรือตัวแปรที่กำหนดเป็นลำดับตัวแปรแล้ว ซอฟต์แวร์มีเดียวิกิยังมีรูปแบบตัวแปรอัตโนมัติ ที่จะเป็นตัวแปรที่กำหนดให้แสดงผลอัตโนมัติเมื่อเรียกตัวแปรนั้นๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวแปรอัตโนมัติ
ตัวแปร ความหมาย ตัวอย่างการแสดงผล
{{PAGENAME}} แสงชื่อหน้าบทความนั้นๆ การใช้แม่แบบ
{{SERVER}} แสดงชื่อเซิร์ฟเวอร์ https://www.hii.or.th
{{CURRENTMONTH}} เดือนปัจจุบัน 04
{{CURRENTMONTHNAME}} ชื่อเดือนปัจจุบัน เมษายน
{{CURRENTDAY}} วันที่วันนี้ 18
{{CURRENTDAYNAME}} วันนี้ วันพฤหัสบดี
{{CURRENTYEAR}} ปีปัจจุบัน 2024
{{NUMBEROFARTICLES}} จำนวนบทความทั้งหมด 304


การสร้างแม่แบบโดยใช้ตัวแปร สามารถใช้ตัวแปรหลายรูปแบบในแม่แบบเดียวกันได้ ตัวอย่างเช่น การสรางแม่แบบเพื่อการอธิบายคำศัพท์แต่ละคำ มีการสร้างแม่แบบด้วยคำสั่งดังนี้

{|width="500" align="center" style="border: solid 3px #99C;"
|- style="border:solid 3px #99C; background: #CCF;"
|colspan="2" align="center" style="font-size:150%"| '''{{PAGENAME}}'''
|-
|align="center" style="padding-top:50px;padding-bottom:50px;"| [[Image:{{{1}}}|{{PAGENAME}}]]
|-
|align="center"|
{| border="0" cellspacing="1" cellpadding="5" width="100%" style="border-top: solid 3px #99c;"
|-bgcolor="#FFFFF4"
|width="120" align="right"| '''คำอ่าน''' :
| {{{2}}}
|-bgcolor="#F4FFFF"
|align="right"| '''อธิบายคำ''' :
| {{{3}}}
|-bgcolor="#FFFFF4"
|align="right"| '''หน้าที่คำ''' :
| {{{4}}}
|-bgcolor="#F4FFFF"
|align="right"| '''คำภาษาอังกฤษ''' :
| {{{5}}}
|-bgcolor="#FFFFF4"
|align="right"| '''คำพ้องความหมาย''' :
| {{{6}}}
|-bgcolor="#F4FFFF"
|align="right"| '''ต.ย. ไทย''' :
| {{{7}}}
|-bgcolor="#FFFFF8"
|align="right"| '''ต.ย. อังกฤษ''' :
| {{{8}}}
|-bgcolor="#F4FFFF"
|align="right"| '''ความหมายอื่นๆ''' :
| {{{9}}}
|}

|}

เมื่อแสดงผลคำศัพท์จะได้ตารางแม่แบบดังนี้

การใช้แม่แบบ
[[Image:{{{1}}}|การใช้แม่แบบ]]
คำอ่าน : {{{2}}}
อธิบายคำ : {{{3}}}
หน้าที่คำ : {{{4}}}
คำภาษาอังกฤษ : {{{5}}}
คำพ้องความหมาย : {{{6}}}
ต.ย. ไทย : {{{7}}}
ต.ย. อังกฤษ : {{{8}}}
ความหมายอื่นๆ : {{{9}}}

เมื่อนำแม่แบบมาใช้อธิบายคำศัพท์ว่า "ไก่" ใช้แม่แบบที่สร้างและคำสั่งดังนี้

{{word_t|chicken.jpg|/kàj/||นาม|chicken; hen (แม่ไก่); cock (ไก่ตัวผู้)||เรื่องของไข้หวัดนกทำให้หลายๆ คนกลัว ไม่กล้ากินไก่||}}

เมื่อแสดงผลจะปรากฏผลลัพธ์ดังนี้

ไก่
ไก่
คำอ่าน : /kàj/
อธิบายคำ : ไก่เป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่ง
หน้าที่คำ : นาม
คำภาษาอังกฤษ : chicken; hen (แม่ไก่); cock (ไก่ตัวผู้)
คำพ้องความหมาย :
ต.ย. ไทย : เรื่องของไข้หวัดนกทำให้หลายๆ คนกลัว ไม่กล้ากินไก่
ต.ย. อังกฤษ :
ความหมายอื่นๆ :


กลับไปหน้าคู่มือการใช้งาน