หมวดหมู่:ด้านการต่างประเทศ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:04, 5 ตุลาคม 2552 โดย Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าใหม่: center <h1>พระราชกรณียกิจด้านการต่าง...)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
051009-การต่างประเทศ-01.jpg

พระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศสืบศักดิ์ศรีประเทศไทยสู่สากล

ตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญในเรื่องการเจริญทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ เนื่องด้วยทรงตระหนักว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่แสดงให้นานาประเทศเห็นถึงความเป็นประเทศสมาชิกของประชาคมโลกที่มีบทบาทสำคัญอย่างเต็มภาคภูมิในโลกเสรี

จากวันที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือนประเทศต่างๆ อย่างเป็นทางการในพุทธศักราช ๒๕๐๒ อันเป็นการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศนั้นๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทรงธำรงรักษาสายสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงระยะเวลา ๖๐ ปีแห่งการครองราชย์ ยังผลให้ชื่อของประเทศไทยปรากฏในเวทีโลกและเป็นที่ยอมรับว่ามีศักยภาพและบทบาทสำคัญในภูมิภาค

ตาราง จำนวนสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยือน เพื่อทรงเจริญพระราชไมตรี จำแนกตามประเภท พุทธศักราช ๒๕๐๒ - ๒๕๐๓

ประเภทสถานที่สำคัญ
รวม
จำนวน
๑๒๐ แห่ง
หมายเหตุ
ด้านธรรมชาติ อุทยานและวนอุทยาน ฯลฯ
สำนักงานองค์การระหว่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN)

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO)

ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA)

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice)

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO)

กาชาดสากล (Red Cross)

ด้านการปกครอง สภานิติบัญญัติ ทำเนียบรัฐบาล กระทรวงต่างประเทศ ศาลาว่าการนคร ฯลฯ
ด้านศิลปะการแสดง ๑๐ นาฏศิลป์พื้นเมือง ละครเพลง ดนตรี โรงถ่ายภาพยนตร์ โรงละคร ดิสนีย์แลนด์ สนามฟุตบอล ฯลฯ
ด้านการทหาร ๑๒ กองบัญชาการเสนาธิการ โรงเรียนนายร้อย โรงเรียนนายเรือ ฐานทัพอากาศ ศูนย์ฝึกทหารเรือ การแสดงทหารม้าอิตาลี

ศูนย์การฝึกกองทัพอากาศ โรงเรียนการทหาร ฐานทดลองอาวุธ ฐานยิงจรวด - ดาวเทียม ฯลฯ

ด้านการศึกษาและวิจัย ๑๕ มหาวิทยาลัย สถาบันศิลปะ ศูนย์ค้นคว้าวิจัย โรงพยาบาลเด็ก ห้องสมุดมหาวิทยาลัย สภากาชาด การทดลองในพิพิธภัณฑ์

พลังงานปรมาณู เขื่อน ฯลฯ

ด้านเศรษฐกิจและโรงงานอุตสาหกรรม ๒๐ ตลาดเงินวอลล์สตรีท ตลาดหุ้นบรอดเวย์ ฟาร์มทดลอง ไร่ปศุสัตว์ โรงงานเหล็กและเหล็กกล้า บริษัทไอบีเอ็ม (ผลิตคอมพิวเตอร์)

บริษัทฟิลิปส์ กรุนดิก นาฬิกาโอเมกา กล้องถ่ายรูป บริษัทอีสต์เอเชียติ๊ก โรงงานเซรามิก โรงงานผลิตนมข้น โรงงานผลิตรถยนต์ โรงงานผลิตเครื่องจักรเครื่องมือเกษตรกรรม ฯลฯ

ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ๔๓ อนุสรณ์สถาน อนุสาวรีย์ ศาสนสถาน ปูชนียสถาน ปราสาท - พระราชวัง พิพิธภัณฑ์ เมืองเก่า ฯลฯ