ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยาเสพติด"

(กาแฟ)
(พืชทดแทนฝิ่น)
แถว 15: แถว 15:
  
 
ต่อมามูลนิธิโครงการหลวงได้พัฒนาวิจัย และส่งเสริมการผลิตกาแฟอาราบิก้า โดยเมื่อปี ๒๕๔๘ มีพื้นที่ปลูก ๔,๓๐๐ ไร่ จำนวนต้นกาแฟ ๑.๗ ล้านต้น มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ๒.๑๑๗ ราย ผลิตกาแฟกะลาได้ ๔๑,๒๘๘ กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ารายได้ ๒.๓ ล้านบาท
 
ต่อมามูลนิธิโครงการหลวงได้พัฒนาวิจัย และส่งเสริมการผลิตกาแฟอาราบิก้า โดยเมื่อปี ๒๕๔๘ มีพื้นที่ปลูก ๔,๓๐๐ ไร่ จำนวนต้นกาแฟ ๑.๗ ล้านต้น มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ๒.๑๑๗ ราย ผลิตกาแฟกะลาได้ ๔๑,๒๘๘ กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ารายได้ ๒.๓ ล้านบาท
 +
 +
 +
===ลูกท้อ...ทำเงิน===
 +
 +
หม่อมเจ้าภีศเดชรัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวงได้เคยทรงบันทึกเรื่องลูกท้อไว้ในหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโครงการหลวง ความตอนหนึ่งว่า
 +
<div style="color:darkgreen; padding-top:15px">"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงขับรถพระที่นั่งไปบ้านแม้วดอยปุยใกล้พระตำหนักภูพิงค์ราชนิวเวศน์ และได้ทอดพระเนตรต้นท้อ (Peach) ที่แม้วเอากิ่งพันธุ์ดีมาต่อกับต้นตอเพื้นเมืองตามโครงการแต่ปีก่อน และมีรับสั่งถามเจ้าของว่าปลูกฝิ่นได้เงินเท่าไร และเก็บท้อพื้นเมือง(ลูกเล็ก) ขายได้กี่บาท ก็ทรงพบว่าฝิ่นกับท้อพื้นเมืองทำเงินให้เกษตรกรเท่าๆ กัน..."
 +
</div>
 +
<div style="color:darkgreen; padding-top:15px">
 +
"ถ้าท้อลูกนิดๆ ยังทำเงินให้เกษตรกรได้ดีเท่าฝิ่นแล้ว เราก็ควรจะเปลี่ยนยอดให้ออกลูกมาเป็นท้อใหญ่ๆ หวานฉ่ำ สีชมพูเรื่อดังกับแก้วสาวในนิทานจีน เมื่อรายได้จากท้อและผลไม้อื่นสูงกว่าฝิ่นแล้ว ฝิ่นก็จะสาบสูญไปเองตามธรรมชาติ ไม่ต้องใช้กำลังผลักดันแต่อย่างไร"</div>
 +
 +
<div style="color:darkgreen; padding-top:15px">
 +
จากการดำเนินงานพัฒนาชาวเขามากกว่า ๓๘ ปี ปัจจุบันพื้นที่ที่เคยเต็มไปด้วยดอกฝิ่น จึงกลายเป็นผืนดินที่สร้างมูลค่าผลผลิตเกษตรอย่างมากมาย เป็นแหล่งผลิตผลไม้ พืชผักเมืองหนาวหลายชนิด พืชที่สำคัญของประเทศได้แก่บ๊วย พลัม พีช สาลี่ สตรอเบอรี่ อะโวกาโด และเสาวรส
 +
<div style="color:darkgreen; padding-top:15px">
 +
ตามข้อมูลในรายงานด้านการพัฒนา มูลนิธิโครงการหลวง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๘ ระบุว่ามีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ๒,๔๙๔ ราย พื้นที่ปลูก ๑๘,๙๓๔ ไร่ ได้ผลผลิตรวม ๔๖๐,๕๗๐ กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ารายได้ ๙.๘ ล้านบาท ช่วยให้คนไทยไม่ต้องสูญเสียเงินเพื่อการนำเข้าผัก ผลไม้จากต่างประเทศ ในทางตรงกันข้ามกลับสามารถผลิตไว้บริโภคตามฤดูกาลได้เอง เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชาวเขา ทำให้เกษตรกรภาคเหนือมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น</div>
 +
  
  

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:16, 25 กุมภาพันธ์ 2551

พุทธศักราช ๒๕๑๒ : "ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลก"**

ปัญหายาเสพติด.jpg
ทรงตั้ง "โครงการหลวง" เพื่อแก้ปัญหาปลูกฝิ่นและการทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขา ซึ่งมีพฤติกรรม "ถางและเผา"
โดยส่งเสริมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีและถาวร โดยการปลูกพืชผักและไม้ดอกเมืองหนาว


พืชทดแทนฝิ่น

ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพื้นที่ต่างๆ ของภาคเหนือ ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง มีพื้นที่ทำกินน้อยชาวเขาเร่ร่อนกลางป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย เคลื่อนย้ายไปตามที่ต่างๆ โดยเฉพาะชาวเขาบางกลุ่มนิยมปลูกฝิ่นเพื่อการค้า ซึ่งในสมัยก่อนการค้าฝิ่นยังไม่มีกฎหมายห้ามการผลิตและจำหน่าย ประกอบกับการลักลอบแปรสภาพฝิ่นเป็นยาเสพติดร้ายแรงเพื่อมอมเมาเยาวชนของชาติ ทำให้การปลูกฝิ่นเป็นอาชีพที่ทำรายได้อย่างมาก ด้วยพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยว่าการปลูกฝิ่นจะเป็นปัญหาร้ายแรงของประเทศและของโลก จึงทรงริเริ่มดำเนินงานโครงการหลวง เพื่อพัฒนาชาวเขาตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ ทรงให้ความสำคัญกับงานค้นคว้าวิจัยพืชเมืองหนาวทดแทนฝิ่นก่อให้เกิดสถานีทดลองเกษตรหลวง ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขึ้นหลายแห่งกระจายอยู่ในพื้นที่ ๕ จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แม่ฮ่องสอน และพะเยา


กาแฟ

กาแฟ.jpg

พืชที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำมาปลูกทดแทนฝิ่นมีหลายชนิด หนึ่งในจำนวนนั้นคือ กาแฟ ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานไว้ เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๑๗ ความตอนหนึ่งว่า

"... แต่ก่อนเขาปลูกฝิ่น เราไปพูดจาชี้แจงชักชวนให้เขามาปลูกกาแฟแทน กะเหรี่ยงไม่เคยปลูกาแฟมาก่อนเลย ยังดีที่กาแฟมิตายเสียหมดแต่ยังเหลืออยู่หนึ่งต้นนั้น ต้องถือว่าเป็นความก้าวหน้าสำหรับกะเหรี่ยง" และทรงแนะนำให้หาหนทางว่า "ทำอย่างไรกาแฟจึงจะเหลืออยู่มากกว่าหนึ่งต้น"


ต่อมามูลนิธิโครงการหลวงได้พัฒนาวิจัย และส่งเสริมการผลิตกาแฟอาราบิก้า โดยเมื่อปี ๒๕๔๘ มีพื้นที่ปลูก ๔,๓๐๐ ไร่ จำนวนต้นกาแฟ ๑.๗ ล้านต้น มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ๒.๑๑๗ ราย ผลิตกาแฟกะลาได้ ๔๑,๒๘๘ กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ารายได้ ๒.๓ ล้านบาท


ลูกท้อ...ทำเงิน

หม่อมเจ้าภีศเดชรัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวงได้เคยทรงบันทึกเรื่องลูกท้อไว้ในหนังสือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโครงการหลวง ความตอนหนึ่งว่า

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงขับรถพระที่นั่งไปบ้านแม้วดอยปุยใกล้พระตำหนักภูพิงค์ราชนิวเวศน์ และได้ทอดพระเนตรต้นท้อ (Peach) ที่แม้วเอากิ่งพันธุ์ดีมาต่อกับต้นตอเพื้นเมืองตามโครงการแต่ปีก่อน และมีรับสั่งถามเจ้าของว่าปลูกฝิ่นได้เงินเท่าไร และเก็บท้อพื้นเมือง(ลูกเล็ก) ขายได้กี่บาท ก็ทรงพบว่าฝิ่นกับท้อพื้นเมืองทำเงินให้เกษตรกรเท่าๆ กัน..."
"ถ้าท้อลูกนิดๆ ยังทำเงินให้เกษตรกรได้ดีเท่าฝิ่นแล้ว เราก็ควรจะเปลี่ยนยอดให้ออกลูกมาเป็นท้อใหญ่ๆ หวานฉ่ำ สีชมพูเรื่อดังกับแก้วสาวในนิทานจีน เมื่อรายได้จากท้อและผลไม้อื่นสูงกว่าฝิ่นแล้ว ฝิ่นก็จะสาบสูญไปเองตามธรรมชาติ ไม่ต้องใช้กำลังผลักดันแต่อย่างไร"

จากการดำเนินงานพัฒนาชาวเขามากกว่า ๓๘ ปี ปัจจุบันพื้นที่ที่เคยเต็มไปด้วยดอกฝิ่น จึงกลายเป็นผืนดินที่สร้างมูลค่าผลผลิตเกษตรอย่างมากมาย เป็นแหล่งผลิตผลไม้ พืชผักเมืองหนาวหลายชนิด พืชที่สำคัญของประเทศได้แก่บ๊วย พลัม พีช สาลี่ สตรอเบอรี่ อะโวกาโด และเสาวรส

ตามข้อมูลในรายงานด้านการพัฒนา มูลนิธิโครงการหลวง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๔๘ ระบุว่ามีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ๒,๔๙๔ ราย พื้นที่ปลูก ๑๘,๙๓๔ ไร่ ได้ผลผลิตรวม ๔๖๐,๕๗๐ กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ารายได้ ๙.๘ ล้านบาท ช่วยให้คนไทยไม่ต้องสูญเสียเงินเพื่อการนำเข้าผัก ผลไม้จากต่างประเทศ ในทางตรงกันข้ามกลับสามารถผลิตไว้บริโภคตามฤดูกาลได้เอง เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชาวเขา ทำให้เกษตรกรภาคเหนือมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น








**ข้อมูลจาก หนังสือ ๘๐ ทศวรรษแห่งการพัฒนา จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ