ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย"

 
แถว 14: แถว 14:
 
<div class="kindent">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาวิชาการเบื้องต้น ณ โรงเรียนมาแตร์เดอี เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และทรงศึกษาต่อที่ประเทศนั้นจนจบชั้นอุดมศึกษา ในช่วงต้นของการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้น พระองค์ทรงศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ และหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แล้วทรงเปลี่ยนแนวการศึกษาจากทางด้านวิทยาศาสตร์มาเป็นทางด้านสังคมศาสตร์เพื่อเตรียมรับพระราชภารกิจในฐานะองค์พระมหากษัตริย์
 
<div class="kindent">พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาวิชาการเบื้องต้น ณ โรงเรียนมาแตร์เดอี เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และทรงศึกษาต่อที่ประเทศนั้นจนจบชั้นอุดมศึกษา ในช่วงต้นของการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้น พระองค์ทรงศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ และหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แล้วทรงเปลี่ยนแนวการศึกษาจากทางด้านวิทยาศาสตร์มาเป็นทางด้านสังคมศาสตร์เพื่อเตรียมรับพระราชภารกิจในฐานะองค์พระมหากษัตริย์
  
ในที่นี้ จะขออัญเชิญบทพระราชทานสัมภาษณ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงให้ไว้กับผู้จัดทำรายการพูดจาประสาช่าง ซึ่งได้พิมพ์ในวิศวกรรมสาร '''“ในหลวงกับงานช่าง”''' ความตอนหนึ่งว่า “เท่าที่สังเกตมาตั้งแต่ยังจำความได้ ก็เห็นท่านทำงานช่างอยู่หลายอย่างท่านเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนเด็กๆ นั้น ท่านก็มีความสนพระทัยในงานช่างมาก แล้วก็ตอนท่านเล็กๆ สมเด็จย่าเลี้ยงท่านอย่างค่อนข้างเข้มงวด คือ แม้แต่ของเล่น ก็ไม่ได้มีของเล่นมากมายสำเร็จรูป อย่างฟุ่มเฟือยเหมือนอย่างเด็กๆ สมัยนี้ แม้แต่เงินทอง ที่สมเด็จย่าให้เป็นค่าขนมแต่ละครั้งนั้น ก็ให้อย่างจำกัด จะซื้อหาอยากได้อะไรแต่ละอย่างก็ต้องคิดว่าจะเอาอะไรก่อน อะไรหลัง อะไรคุ้มดีไหม อย่างเช่น ท่านอยากได้วิทยุมาฟังท่านก็ต้องเข้าหุ้นกับทูลกระหม่อมลุง ซื้อชิ้นส่วนของวิทยุทีละชิ้นๆ เอามาประกอบเองเป็นวิทยุ ซึ่งก็ต้องฟังกัน 2 คน ที่เข้าหุ้นกัน แล้วก็การที่บางครั้งเงินที่ได้รับเป็นค่าขนมก็ไม่พอที่จะซื้อของ ที่ท่านอยากได้ก็ต้องมีการหาเงินพิเศษ วิธีหาเงินพิเศษนั้น ก็ต้องใช้ความสามารถของท่านเองนี่แหละ เช่นมีพี่เลี้ยงซึ่งก็ไม่กล้าให้เงินท่านโดยไม่มีเหตุผลเวลาทำอะไรให้แก แกถึงจะให้ได้เช่น เวลาจักรเย็บผ้าแกเสีย ท่านตอนนั้นก็ซัก 10 ขวบ ท่านก็แก้ได้ แก้ได้ก็ได้สตางค์เพื่อเป็นค่าจ้างแก้จักร
+
ในที่นี้ จะขออัญเชิญบทพระราชทานสัมภาษณ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงให้ไว้กับผู้จัดทำรายการพูดจาประสาช่าง ซึ่งได้พิมพ์ในวิศวกรรมสาร '''"ในหลวงกับงานช่าง"''' ความตอนหนึ่งว่า <span style="color:#00AEEF">"เท่าที่สังเกตมาตั้งแต่ยังจำความได้ ก็เห็นท่านทำงานช่างอยู่หลายอย่างท่านเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนเด็กๆ นั้น ท่านก็มีความสนพระทัยในงานช่างมาก แล้วก็ตอนท่านเล็กๆ สมเด็จย่าเลี้ยงท่านอย่างค่อนข้างเข้มงวด คือ แม้แต่ของเล่น ก็ไม่ได้มีของเล่นมากมายสำเร็จรูป อย่างฟุ่มเฟือยเหมือนอย่างเด็กๆ สมัยนี้ แม้แต่เงินทอง ที่สมเด็จย่าให้เป็นค่าขนมแต่ละครั้งนั้น ก็ให้อย่างจำกัด จะซื้อหาอยากได้อะไรแต่ละอย่างก็ต้องคิดว่าจะเอาอะไรก่อน อะไรหลัง อะไรคุ้มดีไหม อย่างเช่น ท่านอยากได้วิทยุมาฟังท่านก็ต้องเข้าหุ้นกับทูลกระหม่อมลุง ซื้อชิ้นส่วนของวิทยุทีละชิ้นๆ เอามาประกอบเองเป็นวิทยุ ซึ่งก็ต้องฟังกัน 2 คน ที่เข้าหุ้นกัน แล้วก็การที่บางครั้งเงินที่ได้รับเป็นค่าขนมก็ไม่พอที่จะซื้อของ ที่ท่านอยากได้ก็ต้องมีการหาเงินพิเศษ วิธีหาเงินพิเศษนั้น ก็ต้องใช้ความสามารถของท่านเองนี่แหละ เช่นมีพี่เลี้ยงซึ่งก็ไม่กล้าให้เงินท่านโดยไม่มีเหตุผลเวลาทำอะไรให้แก แกถึงจะให้ได้เช่น เวลาจักรเย็บผ้าแกเสีย ท่านตอนนั้นก็ซัก 10 ขวบ ท่านก็แก้ได้ แก้ได้ก็ได้สตางค์เพื่อเป็นค่าจ้างแก้จักร"</span>
  
 
จากพระราชประวัติ ทำให้เราสามารถเข้าใจถึงทัศนคติและความสนพระราชหฤทัย ในวิชาการทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี พระปรีชาสามารถนี้ ยังคงอยู่ในพระราชหฤทัยตลอดมา  หลังจากที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระราชกรณียกิจสิ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนคือการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ในปี พ.ศ. 2498 นับเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ไทย เสด็จไปในพื้นทีทุรกันดารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนับจากครั้งนั้น ก็เสด็จพระราชดำเนินทั่วภูมิภาคในประเทศไทยตลอดมาทุกปี ทำให้ทรงทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของราษฎร สภาพภูมิประเทศตลอดจนข้อมูลต่างๆ อย่างถ่องแท้ สำหรับประกอบพระบรมราชวินิจฉัยในการพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่ราษฎรและก่อให้เกิดโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีมากมายเหลือคณานับ โครงการเหล่านี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีหลายๆ ด้าน รวมทั้งวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่างๆ ซึ่งพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถอยู่ในพระราชหฤทัยหลายด้านตลอดมา อันได้แก่ ด้านวิศวกรรมสำรวจ ด้านวิศวกรรมทางเรือ ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และสื่อสาร ด้านวิศวกรรมการเกษตร ด้านวิศวกรรมการชลประทาน ด้านวิศวกรรมเครื่องกล ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาด้านวิชาชีพอื่นๆ อีกหลายสาขา
 
จากพระราชประวัติ ทำให้เราสามารถเข้าใจถึงทัศนคติและความสนพระราชหฤทัย ในวิชาการทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี พระปรีชาสามารถนี้ ยังคงอยู่ในพระราชหฤทัยตลอดมา  หลังจากที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระราชกรณียกิจสิ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนคือการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ในปี พ.ศ. 2498 นับเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ไทย เสด็จไปในพื้นทีทุรกันดารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนับจากครั้งนั้น ก็เสด็จพระราชดำเนินทั่วภูมิภาคในประเทศไทยตลอดมาทุกปี ทำให้ทรงทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของราษฎร สภาพภูมิประเทศตลอดจนข้อมูลต่างๆ อย่างถ่องแท้ สำหรับประกอบพระบรมราชวินิจฉัยในการพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่ราษฎรและก่อให้เกิดโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีมากมายเหลือคณานับ โครงการเหล่านี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีหลายๆ ด้าน รวมทั้งวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่างๆ ซึ่งพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถอยู่ในพระราชหฤทัยหลายด้านตลอดมา อันได้แก่ ด้านวิศวกรรมสำรวจ ด้านวิศวกรรมทางเรือ ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และสื่อสาร ด้านวิศวกรรมการเกษตร ด้านวิศวกรรมการชลประทาน ด้านวิศวกรรมเครื่องกล ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาด้านวิชาชีพอื่นๆ อีกหลายสาขา

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:40, 5 ตุลาคม 2552

 

พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย

ความสำคัญ

วันนักประดิษฐ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ มาแก้ไขปัญหาการพัฒนาประเทศ และเพื่อเป็นที่ระลึกวันประวัติศาสตร์ ของการจดทะเบียน และออกสิทธิบัตรให้แก่พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ซึ่งจะเห็นได้จากพระราชประวัติที่ทรงมีพระปรีชาสามารถและทรงสนพระราชหฤทัย ในด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี พร้อมกันนี้เป็นการส่งเสริมสนับสนุนการประดิษฐ์คิดค้นของนักประดิษฐ์ ประชาชนทั่วไป และผู้สนใจการประดิษฐ์ ให้มีโอกาสแสดงความรู้ ความสามารถต่อสาธารณชน เพื่อส่งผลให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างกว้างขวาง


พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาวิชาการเบื้องต้น ณ โรงเรียนมาแตร์เดอี เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และทรงศึกษาต่อที่ประเทศนั้นจนจบชั้นอุดมศึกษา ในช่วงต้นของการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้น พระองค์ทรงศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ และหลังจากที่ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แล้วทรงเปลี่ยนแนวการศึกษาจากทางด้านวิทยาศาสตร์มาเป็นทางด้านสังคมศาสตร์เพื่อเตรียมรับพระราชภารกิจในฐานะองค์พระมหากษัตริย์

ในที่นี้ จะขออัญเชิญบทพระราชทานสัมภาษณ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงให้ไว้กับผู้จัดทำรายการพูดจาประสาช่าง ซึ่งได้พิมพ์ในวิศวกรรมสาร "ในหลวงกับงานช่าง" ความตอนหนึ่งว่า "เท่าที่สังเกตมาตั้งแต่ยังจำความได้ ก็เห็นท่านทำงานช่างอยู่หลายอย่างท่านเคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนเด็กๆ นั้น ท่านก็มีความสนพระทัยในงานช่างมาก แล้วก็ตอนท่านเล็กๆ สมเด็จย่าเลี้ยงท่านอย่างค่อนข้างเข้มงวด คือ แม้แต่ของเล่น ก็ไม่ได้มีของเล่นมากมายสำเร็จรูป อย่างฟุ่มเฟือยเหมือนอย่างเด็กๆ สมัยนี้ แม้แต่เงินทอง ที่สมเด็จย่าให้เป็นค่าขนมแต่ละครั้งนั้น ก็ให้อย่างจำกัด จะซื้อหาอยากได้อะไรแต่ละอย่างก็ต้องคิดว่าจะเอาอะไรก่อน อะไรหลัง อะไรคุ้มดีไหม อย่างเช่น ท่านอยากได้วิทยุมาฟังท่านก็ต้องเข้าหุ้นกับทูลกระหม่อมลุง ซื้อชิ้นส่วนของวิทยุทีละชิ้นๆ เอามาประกอบเองเป็นวิทยุ ซึ่งก็ต้องฟังกัน 2 คน ที่เข้าหุ้นกัน แล้วก็การที่บางครั้งเงินที่ได้รับเป็นค่าขนมก็ไม่พอที่จะซื้อของ ที่ท่านอยากได้ก็ต้องมีการหาเงินพิเศษ วิธีหาเงินพิเศษนั้น ก็ต้องใช้ความสามารถของท่านเองนี่แหละ เช่นมีพี่เลี้ยงซึ่งก็ไม่กล้าให้เงินท่านโดยไม่มีเหตุผลเวลาทำอะไรให้แก แกถึงจะให้ได้เช่น เวลาจักรเย็บผ้าแกเสีย ท่านตอนนั้นก็ซัก 10 ขวบ ท่านก็แก้ได้ แก้ได้ก็ได้สตางค์เพื่อเป็นค่าจ้างแก้จักร"

จากพระราชประวัติ ทำให้เราสามารถเข้าใจถึงทัศนคติและความสนพระราชหฤทัย ในวิชาการทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี พระปรีชาสามารถนี้ ยังคงอยู่ในพระราชหฤทัยตลอดมา หลังจากที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระราชกรณียกิจสิ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนคือการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร ในปี พ.ศ. 2498 นับเป็นครั้งแรกที่พระมหากษัตริย์ไทย เสด็จไปในพื้นทีทุรกันดารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนับจากครั้งนั้น ก็เสด็จพระราชดำเนินทั่วภูมิภาคในประเทศไทยตลอดมาทุกปี ทำให้ทรงทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ของราษฎร สภาพภูมิประเทศตลอดจนข้อมูลต่างๆ อย่างถ่องแท้ สำหรับประกอบพระบรมราชวินิจฉัยในการพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่ราษฎรและก่อให้เกิดโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีมากมายเหลือคณานับ โครงการเหล่านี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีหลายๆ ด้าน รวมทั้งวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่างๆ ซึ่งพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถอยู่ในพระราชหฤทัยหลายด้านตลอดมา อันได้แก่ ด้านวิศวกรรมสำรวจ ด้านวิศวกรรมทางเรือ ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า และสื่อสาร ด้านวิศวกรรมการเกษตร ด้านวิศวกรรมการชลประทาน ด้านวิศวกรรมเครื่องกล ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาด้านวิชาชีพอื่นๆ อีกหลายสาขา


พระราชกรณียกิจ

จากพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการเสด็จแปรพระราชฐานและประทับแรม ณ พระตำหนัก ตามภูมิภาคใดก็ตามในการเสด็จเยี่ยมเยียนดูแลทุกข์สุขของราษฎรแต่ละครั้ง นอกจากจะเพื่อทรงหาทางช่วยเหลือพสกนิกร ทุกท้องถิ่นให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขสบายทัดเทียมกันแล้ว พระราชกรณียกิจด้านหนึ่งที่พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย นอกเหนือจากงานพัฒนาแหล่งน้ำและงานพัฒนาด้านอื่นๆ หลากหลายสาขาแล้ว ยังทรงสนพระราชหฤทัยในเรื่องการประดิษฐ์เครื่องจักรกลเพื่อใช้ในการเกษตรรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องจักรกลที่ทรงเลือกใช้เทคโนโลยีแบบง่ายๆ ใช้ภูมิปัญญาของเราเอง แบบไทยทำ ไทยใช้ ลดการพึ่งพาเศรษฐกิจจากภายนอก คือ เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อนำไปใช้ในภูมิภาคใดย่อมจะเกิดผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมกับพสกนิกรของพระองค์ในภูมิภาคนั้นๆ อีกทั้งวัสดุต่างๆ ใช้ในการประดิษฐ์ก็ใช้วัสดุภายในประเทศและหาซื้อได้ในทุกภูมิภาค และสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้นมาจะเน้นความง่ายต่อการใช้งาน ง่ายต่อการซ่อมบำรุง และราคาจะต้องถูกอีกด้วย

งานประดิษฐ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เป็นที่ทราบกันดีกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีฝีพระหัตถ์เป็นเยี่ยมในด้านการช่าง ไม่ว่าจะเป็นงานช่างไม้ ช่างโลหะ หรือช่างกล ซึ่งเป็นงานพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ ครั้งยังทรงพระเยาว์ขณะประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นั้นทรงมีห้องปฏิบัติหรือที่เรียกว่า “เวิร์กช้อป” อยู่ในพระตำหนักวิลลาวัฒนา ทรงใช้เวิร์กช้อปนี้ประดิษฐ์เรือใบด้วยพระองค์เองเพื่อนำ

ไปใช้ในการแข่งขันกีฬา ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าการใช้เรือใบดังกล่าวทรงพิชิตเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2510 เหนืออื่นใดคือพระองค์ทรงต่อเรือใบเองด้วย

ทรงออกแบบเรือใบมด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการพัฒนากีฬาเรือใบ พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ เมื่อปี พ.ศ. 2510 พระองค์ทรงพระฐานะเป็นนักกีฬาตัวแทนของไทยลงแข่งขันเรือใบซึ่งเป็นกีฬาที่โปรดเป็นพิเศษในกีฬาแหลมทองครั้งที่ 4 ด้วยพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงชนะเลิศรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันครั้งนั้น ไม่เพียงแต่พระองค์โปรดการเล่นเรือใบเท่านั้น หากในยามที่ทรงเว้นว่างจากพระราชกรณียกิจ และทรงออกแบบ และสร้างเรือใบด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง เรือใบที่ทรงออกแบบมิได้ตามแบบอย่างต่างชาติ ทรงพระราชทานนามเรือใบลำนั้นว่า “เรือใบมด” (Mod) พระองค์ได้ทรงออกแบบและสร้างเรือใบมดลำแรกด้วยพระองค์เอง คือ เรือใบมด 1 และได้ทรงนำเรือลำนี้ไปแข่งขันที่ประเทศอังกฤษเมื่อคราวเสด็จประพาสครั้งนั้น และทรงสามารถชนะเรือของผู้แข่งขันอื่นในขนาดใกล้เคียงกันได้เรือใบมดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงออกแบบนั้นเป็นเรือใบเสาเดียว ซึ่งนับว่าเป็นแบบที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการแข่งขันมีราคาในการสร้างไม่แพง และสะดวกในการเก็บรักษา มีน้ำหนักเบาสะดวกในการเดินทางและเคลื่อนย้าย มีคุณสมบัติว่องไวดีในการเล่น และกลับลำ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงออกแบบและทรงสร้างเรือใบมดลำแรกขึ้น แล้วได้ทรงทดสอบด้วยการนำไปแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปรากฏว่าเรือใบแบบนั้นซึ่งต่อมาโปรดให้เรียกว่า “เรือมด 1” มีความคล่องตัวดี เหมาะสมกับการแข่งขันมาก จึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สโมสรกรมอู่ทหารเรือดำเนินการต่อเรือมดขึ้นอีก ซึ่งทำให้ช่างของกรมอู่ทหารเรือมีรายได้เพิ่มขึ้นจากงานประจำอีกด้วย รายได้จากการต่อเรือส่วนหนึ่งได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายผู้ออกแบบในฐานะมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของแบบ (หรือปัจจุบันอาจจะเรียกว่า เจ้าของสิทธิบัตร) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเป็นผู้พัฒนาอุตสาหกรรมการต่อเรือ และเริ่มธุรกิจการต่อเรือในประเทศไทยด้วย ต่อมาได้ทรงปรับปรุงแบบเรือมดและได้ทรงออกแบบเรือใบชุดมดอีก 2 ประเภท คือ เรือซุปเปอร์มด และเรือไมโครมด ซึ่งเป็นเรือที่ได้รับความนิยมมากในหมู่สมาชิกแล่นใบชาวไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานต่างๆ ทำการคิดค้นวิจัย พัฒนาและประดิษฐ์เครื่องจักรกลใช้พลังงานทดแทนขึ้น


เครื่องจักรกลที่พัฒนาขึ้นอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

1) เครื่องสีข้าวใช้กำลังคน ประดิษฐ์ขึ้นอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขาที่ดอยสามหมื่น จังหวัดเชียงใหม่ ทอดพระเนตรเครื่องสีข้าวใช้กำลังคนแบบโยกที่รัฐบาลญี่ปุ่นมอบให้โครงการหลวง ทรงเห็นว่าเครื่องสีข้าวดังกล่าวใช้มือโยกให้เครื่องหมุนกะเทาะเมล็ดข้าว ทำให้การหมุน ของเครื่องจะได้ความเร็วรอบไม่คงที่ ทำให้ข้าวเปลือกกะเทาะไม่หมด จากนั้นจะต้องนำกลับไปสีข้าวใหม่ ก่อให้เกิดมีขั้นตอนการสีข้าวมาก จึงพระราชทานพระราชดำริให้แก่ เจ้าหน้าที่กรมชลประทานให้ดัดแปลงเครื่องสีข้าวดังกล่าวเป็นเครื่องที่ใช้กำลังเท้าคนถีบแบบถีบจักรยาน ความเร็วรอบจะคงที่กว่าพร้อมกันก็ให้ทำเครื่องแยกแกลบออกจากเมล็ดข้าวเปลือก จึงได้มีการผลิตเครื่องสีข้าวใช้แรงคน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเพื่อให้ชาวไทยภูเขาได้มีเครื่องสีข้าวที่มีประสิทธิภาพดี

2) เครื่องนวดข้าวใช้กำลังคน ประดิษฐ์ขึ้นอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมชาวไทยภูเขาบ้านเวียงแก อ.เชียงกลาง จ.น่าน ทรงเห็นว่า เครื่องนวดข้าวที่ชาวไทยภูเขาทำขึ้นเองใช้เท้าเหยียบให้หมุนเพื่อนวดข้าว ซึ่งไม่มี การแยกเศษฟาง เศษข้าวลีบออกจากข้าวเปลือก ก่อให้เกิดมีขั้นตอนในการนำเอาข้าวเปลือกไปฝัดแยกข้าวลีบและเศษฟางออก จึงพระราชทานพระราชดำริให้แก่เจ้าหน้าที่ให้ดัดแปลงเครื่องนวดข้าวใช้กำลังคนดังกล่าวเป็นเครื่องที่ใช้กำลังเท้าคนถีบแบบถีบจักรยาน ทำให้คนหนึ่งถีบ คนหนึ่งถือรวงข้าว นวดข้าวแยกเศษฟาง แยกข้าวลีบออก จึงได้ข้าวเปลือกนำเอาไปสีข้าว เป็นการลดขั้นตอนการนวดข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการประดิษฐ์เครื่องนวดข้าวตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นมา เครื่องนวดข้าวและเครื่องสีข้าว ทั้ง 2 รูปแบบจะใช้งานในหมู่บ้านเดียวกันคือเป็นเครื่องส่วนกลาง ใครจะหุงข้าวก็ต้องไปนวดข้าว นวดแล้วก็ต้องไปสีข้าว จึงจะได้ข้าวสารไปหุงข้าวเพื่อรับประทาน คุณภาพข้าวดังกล่าวเป็นข้าวอนามัย

3) โรงสีข้าวไฟฟ้าพลังน้ำบ้านแม่สาใหม่ สร้างขึ้นอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อ พ.ศ. 2518 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขาหมู่บ้านแม่สาใหม่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นประจำและเมื่อปี พ.ศ.2518 ทรงเห็นความเดือดร้อนของชาวไทยภูเขาที่ขาดแคลนน้ำ และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ชาวไทยภูเขาได้มีน้ำใช้เพื่อการเพาะปลูก อุปโภค และบริโภค จึงพระราชทานพระราชดำริให้เจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ก่อสร้างฝายชักน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำที่ระดับสูง จากนั้นให้ต่อท่อส่งน้ำลงมาที่โรงสีข้าวไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อใช้พลังน้ำในการสีข้าวและผลิตไฟฟ้า น้ำที่ผ่านการสีข้าวจึงจะนำไปใช้ในการเกษตร อุปโภค และบริโภค เป็นการใช้พลังงานจากน้ำให้เกิดประโยชน์อย่างเอนกประสงค์

4) โรงไฟฟ้าพลังน้ำดอยอ่างขาง สร้างขึ้นอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจกรรมของสถานีทดลองเกษตรหลวงดอยอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ โดยมีหม่อมเจ้าภีสเดช รัชนี กราบบังคมทูลขอพระราชทานโครงการไฟฟ้าพลังน้ำทดแทนพลังงานเชื้อเพลิง จึงพระราชทานพระราชดำริแก่เจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ก่อสร้างฝายชักน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำที่ระดับสูง แล้วส่งน้ำลงเข้าสู่โรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำที่ผ่านการผลิตไฟฟ้าแล้วให้เก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำลูกล่างบริเวณด้านหน้าโรงไฟฟ้า จากนั้นจึงนำน้ำไปใช้ในการเกษตร อุปโภค และบริโภค เป็นการใช้พลังงานจากน้ำให้เกิดประโยชน์อย่างเอนกประสงค์

5) โรงไฟฟ้าพลังน้ำศูนย์พัฒนาปางตอง สร้างขึ้นอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจกรรมของศูนย์พัฒนาปางตอง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ทรงเห็นว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยเครื่องยนต์ดีเซลภายในศูนย์มีความลำบากต่อการลำเลียงน้ำมันเชื้อเพลิง อีกทั้งภายในศูนย์พัฒนาแห่งนี้มีแหล่งน้ำ และอาคารฝายทดน้ำหลายแห่ง จึงพระราชทานพระราชดำริให้เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานต่อท่อรับน้ำจากฝายทดน้ำที่ระดับสูง แล้วส่งน้ำเข้าโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้า น้ำที่ผ่านการผลิตไฟฟ้าแล้วให้ส่งน้ำลงฝายทดน้ำตัวล่าง จากนั้นจึงต่อท่อส่งน้ำนำน้ำจากฝายทดน้ำตัวล่างไปใช้ในการเพาะปลูก อุปโภค และบริโภค เป็นการใช้พลังงานจากน้ำให้เกิดประโยชน์อย่างเอนกประสงค์

6) ไฮดรอลิคแรม หรือ ตะบันน้ำ ประดิษฐ์ขึ้นอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการชลประทานฝายแม่มอญ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ทรงเห็นว่าที่ฝายแห่งนี้มีความสูงของตัวฝายและมีน้ำไหลผ่านล้นฝายตลอดเวลา น่าจะใช้เครื่องตะบันน้ำแบบเดียวกันกับที่ ใช้งานที่ฝายแม่แฝก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ มาใช้ตามฝายต่าง ๆ เพื่อสูบน้ำด้วยพลังน้ำส่งขึ้นที่สูงช่วยเหลือราษฎรบนพื้นที่สูงให้มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภค และบริโภค จึงพระราชทานพระราชดำริแก่เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานพัฒนาขึ้นเพื่อติดตั้งตามฝายน้ำล้นทุกๆแห่ง เป็นการใช้พลังงานจากน้ำเพื่อการสูบน้ำให้เกิดประโยชน์อย่างเอนกประสงค์

7) กังหันน้ำสูบน้ำทุ่นลอย ประดิษฐ์ขึ้นอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรบริเวณพื้นที่ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษห้วยเดื่อ ต.ผาม่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ทรงเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวขาดแคลนน้ำเพื่อปลูกหม่อนเลี้ยงไหม อีกทั้งพื้นที่นี้ตั้งอยู่ริมฝั่งของแม่น้ำปาย ซึ่งมีปริมาณน้ำไหลตลอดปี และมีความเร็วของกระแสน้ำมาก จึงพระราชทานพระราชดำริแก่เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานพัฒนากังหันน้ำสูบน้ำขึ้น เพื่อสูบน้ำด้วยพลังน้ำจากแม่น้ำปายส่งขึ้นไปใช้บริเวณพื้นที่ของศูนย์ฯ เพื่อการปลูกหม่อน อุปโภค และบริโภค เป็นการใช้พลังน้ำไหลจากความเร็วของกระแสน้ำเพื่อการสูบน้ำใช้งานเบื้องต้นในระยะแรกเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะสร้างฝายทดน้ำเพื่อชักน้ำเข้าพื้นที่ดังกล่าว

8) เครื่องสูบน้ำกังหันน้ำ ประดิษฐ์ขึ้นอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโรงไฟฟ้าพลังน้ำปางตอง ศูนย์พัฒนาปางตอง ต.หมอกจำแป๋ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ทรงมีพระราชกระแสว่าไฮดรอลิคแรม หรือตะบันน้ำ ที่ติดตั้งไว้ที่ฝายปางตอง 3 บริเวณด้านหน้าพระตำหนักปางตอง เวลาใช้งานเครื่องส่งเสียงดังรบกวน น่าจะหาวิธีพัฒนาการขึ้นใหม่ โดยสร้างเครื่องกังหันน้ำขึ้น และใช้กังหันน้ำไปขับเคลื่อนเครื่องสูบน้ำ น่าจะเหมาะสมกว่าและไม่มีเสียงดัง ผู้ใช้เพียงแต่เปิดประตูน้ำเครื่องก็จะทำงาน เมื่อปิดประตูน้ำเครื่องก็จะหยุดทำงาน จึงพระราชทานพระราชดำริแก่เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานให้พัฒนาเครื่องสูบน้ำกังหันน้ำขึ้น 2 รูปแบบ คือ

1. เครื่องสูบน้ำกังหันน้ำแบบคร๊อสโฟล วอเตอร์เทอร์บายน์ปั้ม

2. เครื่องสูบน้ำกังหันน้ำแบบโกล๊บเคสโคแอ็คเชี่ยล วอเตอร์เทอร์บายน์ปั๊ม

ทั้ง 2 รูปแบบให้ประดิษฐ์ขึ้นติดตั้งไว้ตามอ่างเก็บน้ำทุกๆ แห่งเพื่อใช้พลังงานจากน้ำสูบน้ำขึ้นสู่พื้นที่สูงแก่เกษตรกรได้ใช้น้ำเพื่อการเกษตร อุปโภค และบริโภค น้ำส่วนหนึ่งให้แบ่งไปใช้สร้างความชุ่มชื้นให้กับป่าบนภูเขาและป้องกันไฟป่า เป็นการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์อย่างเอนกประสงค์

9) เครื่องสูบน้ำพลังน้ำไหล ประดิษฐ์ขึ้นอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการทดลองเครื่องสูบน้ำพลังน้ำไหลหรือสลิงปั้ม ที่บริเวณคลองส่งน้ำบ้านเริม ต.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นเครื่องสูบน้ำที่สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งประเทสสวีเดนได้น้อมเกล้าฯ ถวาย ทรงเห็นว่าการใช้เครื่องสูบน้ำดังกล่าวจะพบปัญหาเศษวัสดุและสาหร่ายไหลเข้าไปติดใบพัด และที่ทางดูดน้ำ จึงพระราชทานพระราชดำริแก่เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานให้พัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยใช้วัสดุภายในประเทศ เพื่อนำไปใช้ตามแม่น้ำลำธารต่างๆ ที่มีความเร็วของกระแสน้ำเพียงพอ เพื่อให้ราษฎรที่มีบ้านเรือนที่ติดแหล่งน้ำได้ใช้พลังน้ำไหลเพื่อสูบน้ำปลูกผักสวนครัว ข้อดีของเครื่องสูบน้ำก็คือมีน้ำหนักเบาเวลาจะใช้งานก็ยกลงไปติดตั้งในแม่น้ำ เวลาเลิกใช้ก็ยกขึ้นมาเก็บ เป็นการใช้พลังกระแสน้ำไหลเพื่อการสูบน้ำ


บทสรุป

เครื่องจักรกลต่างๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่กรมชลประทาน และมูลนิธิชัยพัฒนาได้สนองพระราชดำริ ยังมีเครื่องจักรกลหลากหลายรูปแบบที่ทรงพระราชทานพระราชดำริแก่หน่วยงานต่างๆ อีกมาก เช่น หุ่นยนต์หมอ เครื่องผลิตเกลือไอโอดีน เครื่องกลั่นน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด เรือกำจัดวัชพืชฯลฯ

ย่อมเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า สิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นหลากหลายเหล่านี้เป็นผลงานที่สะท้อนให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพ พระวิสัยทัศน์ และพระวิริยะอันสูงส่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ การพัฒนาเพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนเมือง และชุมชนตามชนบท เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณ พระเมตตาคุณที่เอื้ออาธรต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในผืนแผ่นดินไทยนี้ ให้มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

เราชาวไทยทุกคนควรตะหนักและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไพศาลที่หาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นที่รักเคารพบูชายิ่งของประชาชนชาวไทยพระองค์นี้ จึงขอให้ทุกๆ ท่านได้ถือปฏิบัติตนตามตามรอยพระยุคลบาทตลอดไป