การตรวจวัดเมฆฝนด้วยเรดาร์ตรวจอากาศ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:40, 1 เมษายน 2551 โดย Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) (New page: <div id="rain"> <center>'''การตรวจวัดเมฆฝนด้วยเรดาร์ตรวจอากาศ '''</center> <div class="kindent">เรดาร์ต...)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
การตรวจวัดเมฆฝนด้วยเรดาร์ตรวจอากาศ


เรดาร์ตรวจอากาศ คือ เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการตรวจลมในระดับสูงจากพื้นดินมีความสำคัญในการพยากรณ์และการเข้าใจภาวะ ของอากาศและ มีความสำคัญในการบินเป็นอย่างมาก สามารถส่งสัญญาณผ่านเมฆได้

ปัจจุบันสำนักฝนหลวงและการบินเกษตรมีเรดาร์ตรวจอากาศที่สามารถตรวจวัดไอน้ำในอากาศ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวง รายละเอียดต่างๆสามารถดูได้จากรูปด้านล่าง


รถเรดาร์เคลื่อนที่ ย่านความถี่ C-Band ความยาวคลื่น 5 เซนติเมตร กำลังส่ง 250 กิโลวัตต์ เส้นผ่าศูนย์กลางจานสายอากาศขนาด 9 ฟุต Resolution 1x1 กิโลเมตร รัศมีการตรวจวัด 250 กิโลเมตร

สถานีเรดาร์ฝนหลวง ตั้งอยู่ที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ย่านความถี่ S-Band(2.8 GHz) ความยาวคลื่น 10.7 เซนติเมตร กำลังส่ง 500 กิโลวัตต์ เส้นผ่าศูนย์กลางจานสายอากาศขนาด 20 ฟุต Resolution 1x1 กิโลเมตร รัศมีการตรวจวัด 160 กิโลเมตร

สถานีเรดาร์ฝนหลวงเฉลิมพระเกียรติ ตั้งอยู่ที่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ย่านความถี่ S-Band(2.8 GHz) ความยาวคลื่น 10.7 เซนติเมตร กำลังส่ง 850 กิโลวัตต์ เส้นผ่าศูนย์กลางจานสายอากาศขนาด 20 ฟุต Resolution 1x1 กิโลเมตร รัศมีการตรวจวัด 160 กิโลเมตร


สำนักฝนหลวง.jpg
ข้อมูลจาก สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร
ห้ามนำข้อมูลของเว็บไซต์นี้ ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร