ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การคมนาคม"

(คมนาคมในมหานคร)
(พุทธศักราช ๒๕๑๔ การแก้ปัญหาคมนาคมในมหานคร)
แถว 20: แถว 20:
  
 
===พุทธศักราช ๒๕๑๔ การแก้ปัญหาคมนาคมในมหานคร===
 
===พุทธศักราช ๒๕๑๔ การแก้ปัญหาคมนาคมในมหานคร===
ปป
+
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริด้านการแก้ปัญหาการจราจรเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ โดยในครั้งนั้น มีรับสั่งให้รัฐบาลดำเนินการสร้างถนนวงแหวนขึ้นแทนการสร้างพระบรมราชานุสรณ์ที่รัฐบาลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้าง เนื่องในโอกาสที่ทรงครองราชย์ครบ ๒๕ ปี
ปป
+
 
 +
เกี่ยวกับปัญหาเสร้างทางจราจร ในกรุงเทพฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาว่าประเด็นหนึ่งเกิดจากการที่กรุงเทพฯ มิได้มีแผนผังเมืองที่จริงจัง ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานไว้เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๗ ความตอนหนึ่งว่า
 +
 
 +
<div style="color:darkgreen">"... สำหรับการจราจรเครื่องมือนั้นสำคัญที่สุดก็คือถนน ก็ต้องมีถนนที่เหมาะสม มีเครื่องควบคุมจราจรที่เหมาะสมและมีเกฎเกณฑ์ของแต่ละแห่ง แต่ละส่วนของผิวจราจรนั้นให้เหมาะสม อันนี้ก็ไม่ใช่เรื่องนิติศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องรัฐศาสตร์ หรือของตำรวจ หรือของศาล เป็นเรื่องของวิศวกรรม ก็จะต้องทำวิศวกรรมให้ดีขึ้น คือ หมายความว่า ทำถนนให้ดีขึ้นให้สอดคล้อง ซึ่งเป็นการบ้านที่หนักที่สุด เพราะว่ากรุงเทพฯ ได้สร้างมาเป็นเวลา ๒๐๐ ปีแล้ว ไม่ได้มีผังเมืองที่จริงๆ จัง ๆ ก็มีการผังเมืองของทางการ แต่ว่าก็ไม่ค่อยได้ประโยชน์มากนัก เพราะว่าคนไทยตามชื่อเป็นคนไทย คือมีอิสระบังคับกันไม่ได้ จะสร้างอะไรก็สร้าง อยากจะสร้างเดี๋ยวก็สร้างไปขวางกับคนอื่น คือขวางทางอื่น อันนี้ก็เลยแก้ไขไม่ได้..."</div>
 +
 
 +
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องเผชิญอยู่กับปัญหาการจราจรทุกวันได้เป็นอย่างดี ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานแก่เอกอัครราชทูตและกงศุลใหญ่ที่ประจำการในต่างประเทศ เนื่องในโอกาสเข้าเฝ้าฯ เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๘ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ความตอนหนึ่งว่า
 +
 
 +
<div style="color:darkgreen">"การที่จราจรคับคั่งเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก และขอพูดคือประชาชนเดือดร้อน ประชาชนจะไปทำงานทำการต้องเสียเวลาบนถนน ระหว่าง ๒-๑๐ ชั่วโมง ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของบุคคลด้วยลงไป"</div>
 +
 
 +
การที่ทรงทราบว่าการจราจรในกรุงเทพมหานครคับคั่งนั้น ทรงอธิบายว่า
 +
 
 +
<div style="color:darkgreen">"ถ้าดูแล้ว ท่านทั้งหลายอาจนึกเหมือนบางคน ไม่ใช่บางคนเกือบทุกคนบอกว่าพระเจ้าอยู่หัวอยู่ในวัง ไม่ออกไปเท่าไร ไม่เที่ยวไหน เพราะไม่ใช่เป็นคนเที่ยว ทำไมรู้ว่าตรงโน้นตรงนี้คับคั่ง ทำไมรู้ว่าอะไรเป็นอย่างไร มันมาจากไอที คือว่า Information Technology จราจรในกรุงเทพฯนี้ ถนนมีพอถ้าเฉลี่ยรถไป รถที่ใช้ไม่ใช่จำนวนรถทั้งหมดที่มีในกรุงเทพฯ แต่รถที่กำลังใช้อยู่ในกรุงเทพฯนี้ บางท่านมีรถ ๒๐ คัน ๓๐ คัน แต่ท่านเป็นคนเดียว มีสองขาสองแขน ท่านจะขับรถสิบคันไม่ได้ ท่านไม่ได้เป็นทศกัณฑ์ ทศกัณฑ์เองสมมติว่ามีรถ ท่านก็คงใช้รถสิบคันพร้อมกันไม่ได้ เพราะว่าทศกัณฐ์มียี่สิบกรจริง มีสิบเศียรแต่แยกไม่ได้ แยกได้แต่หัวใจ ไม่สามารถที่จะใช้รถสิบคันพร้อมกัน ฉะนั้นคนที่มีรถหลายคันไม่ได้เป็นอันตรายต่อปัญหาจราจร ต้องดูว่าในเวลาเดียวกันจะมีรถแล่นกี่คัน"</div>
  
 
----
 
----

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:00, 25 กุมภาพันธ์ 2551

คมนาคม1.jpg

พุทธศักราช ๒๔๙๕ ถนนพระราชดำริสายแรก

หากมองย้อนกลับไปในช่วงต้นรัชกาล เราจะเห็นภาพเส้นทางเกวียนจำนวนเส้นทางระหว่างเมืองและชุมชนก็มีน้อยหรือถนนที่มีฝุ่นฟุ้งตลบ ทางที่คดเคี้ยวเป็นหลุมเป็นบ่อ ต้องใช้เวลานานในการเดินทาง ทำให้ประชาชนในชนบทติดต่อชุมชนเมืองอย่างยากลำบาก อีกทั้งบริการของรัฐก็เข้าไปไม่ถึง ได้พระราชทานพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า


"...ที่ข้างในหนองพลับแต่ก่อนนี้เข้าไม่ได้ แค่ครึ่งทางไปหนองพลับก็ไม่ได้ .. ปี ๒๔๙๕ หรือ ๙๖ เพิ่งได้รถบลูโดเซอร์ แล้วเอารถไปให้ค่ายนเรศวรให้สร้างถนนให้ไถถนนเข้าไปถึงห้วยมงคล ซึ่งเดี๋ยวนี้ห้วยมงคล ๒๐ นาทีก็ถึง ตอนนั้นเข้าไปตั้งแต่ ๘-๙ โมงเช้า เข้าไปถึงร่วมบ่ายโมง ไปรถจิ๊ปเข็นเข้าไป ลากเข้าไป..."


ที่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟก็เช่นเดียวกัน แม้จะขึ้นอยู่กับอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอยู่ห่างไกลความเจริญไม่ถึง ๒๐ กิโลเมตร แต่ก็ยังไม่มีถนนจากหมู่บ้านสู่ตลาดหัวหิน ประชาชนได้รับความลำบากในการเดินทางติดต่อกับภายนอกอย่างมาก

คมนาคม2.jpg

เช้าวันหนึ่ง รถยนต์พระที่นั่งบุกเข้าไปถึง "บ้านห้วยมงคล" แล้วไปตกติดหล่ม ลุงรวย งามขำ เกษตรกรพร้อมเพื่อนบ้านได้เข้ามาช่วยเหลือโดยไม่ทราบว่าเจ้าของรถที่ขับมาติดหล่มอยู่นั้นเป็นใคร ภายหลังเมื่อเจ้าของรถลงมา จึงนึกได้ถึงคำบอกเล่าของผู้ใหญ่บ้านว่า "พระเจ้าอยู่หัว" กับ "สมเด็จพระราชินี" จะเสด็จพระราชดำเนินมาที่หัวหิน

ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ ได้รับสั่งถามถึงปัญหาของหมู่บ้าน และทรงทราบว่าสิ่งที่ชาวบ้านห้วยมงคลต้องการมากที่สุดคือ "ถนน" ดังนั้นต่อมาอีกไม่นาน โครงการพระราชดำริเพื่อก่อสร้าง "ถนนห้วยมงคล" จึงได้เกิดขึ้น นับเป็นถนนพระราชดำริสายแรกที่ทอดไปสู่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทั่วประเทศ



พุทธศักราช ๒๕๑๔ การแก้ปัญหาคมนาคมในมหานคร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริด้านการแก้ปัญหาการจราจรเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๑๔ โดยในครั้งนั้น มีรับสั่งให้รัฐบาลดำเนินการสร้างถนนวงแหวนขึ้นแทนการสร้างพระบรมราชานุสรณ์ที่รัฐบาลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดสร้าง เนื่องในโอกาสที่ทรงครองราชย์ครบ ๒๕ ปี

เกี่ยวกับปัญหาเสร้างทางจราจร ในกรุงเทพฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาว่าประเด็นหนึ่งเกิดจากการที่กรุงเทพฯ มิได้มีแผนผังเมืองที่จริงจัง ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานไว้เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๗ ความตอนหนึ่งว่า

"... สำหรับการจราจรเครื่องมือนั้นสำคัญที่สุดก็คือถนน ก็ต้องมีถนนที่เหมาะสม มีเครื่องควบคุมจราจรที่เหมาะสมและมีเกฎเกณฑ์ของแต่ละแห่ง แต่ละส่วนของผิวจราจรนั้นให้เหมาะสม อันนี้ก็ไม่ใช่เรื่องนิติศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องรัฐศาสตร์ หรือของตำรวจ หรือของศาล เป็นเรื่องของวิศวกรรม ก็จะต้องทำวิศวกรรมให้ดีขึ้น คือ หมายความว่า ทำถนนให้ดีขึ้นให้สอดคล้อง ซึ่งเป็นการบ้านที่หนักที่สุด เพราะว่ากรุงเทพฯ ได้สร้างมาเป็นเวลา ๒๐๐ ปีแล้ว ไม่ได้มีผังเมืองที่จริงๆ จัง ๆ ก็มีการผังเมืองของทางการ แต่ว่าก็ไม่ค่อยได้ประโยชน์มากนัก เพราะว่าคนไทยตามชื่อเป็นคนไทย คือมีอิสระบังคับกันไม่ได้ จะสร้างอะไรก็สร้าง อยากจะสร้างเดี๋ยวก็สร้างไปขวางกับคนอื่น คือขวางทางอื่น อันนี้ก็เลยแก้ไขไม่ได้..."

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องเผชิญอยู่กับปัญหาการจราจรทุกวันได้เป็นอย่างดี ดังพระราชดำรัสที่ได้พระราชทานแก่เอกอัครราชทูตและกงศุลใหญ่ที่ประจำการในต่างประเทศ เนื่องในโอกาสเข้าเฝ้าฯ เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๘ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ความตอนหนึ่งว่า

"การที่จราจรคับคั่งเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก และขอพูดคือประชาชนเดือดร้อน ประชาชนจะไปทำงานทำการต้องเสียเวลาบนถนน ระหว่าง ๒-๑๐ ชั่วโมง ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของบุคคลด้วยลงไป"

การที่ทรงทราบว่าการจราจรในกรุงเทพมหานครคับคั่งนั้น ทรงอธิบายว่า

"ถ้าดูแล้ว ท่านทั้งหลายอาจนึกเหมือนบางคน ไม่ใช่บางคนเกือบทุกคนบอกว่าพระเจ้าอยู่หัวอยู่ในวัง ไม่ออกไปเท่าไร ไม่เที่ยวไหน เพราะไม่ใช่เป็นคนเที่ยว ทำไมรู้ว่าตรงโน้นตรงนี้คับคั่ง ทำไมรู้ว่าอะไรเป็นอย่างไร มันมาจากไอที คือว่า Information Technology จราจรในกรุงเทพฯนี้ ถนนมีพอถ้าเฉลี่ยรถไป รถที่ใช้ไม่ใช่จำนวนรถทั้งหมดที่มีในกรุงเทพฯ แต่รถที่กำลังใช้อยู่ในกรุงเทพฯนี้ บางท่านมีรถ ๒๐ คัน ๓๐ คัน แต่ท่านเป็นคนเดียว มีสองขาสองแขน ท่านจะขับรถสิบคันไม่ได้ ท่านไม่ได้เป็นทศกัณฑ์ ทศกัณฑ์เองสมมติว่ามีรถ ท่านก็คงใช้รถสิบคันพร้อมกันไม่ได้ เพราะว่าทศกัณฐ์มียี่สิบกรจริง มีสิบเศียรแต่แยกไม่ได้ แยกได้แต่หัวใจ ไม่สามารถที่จะใช้รถสิบคันพร้อมกัน ฉะนั้นคนที่มีรถหลายคันไม่ได้เป็นอันตรายต่อปัญหาจราจร ต้องดูว่าในเวลาเดียวกันจะมีรถแล่นกี่คัน"

**ข้อมูลจาก หนังสือ ๘๐ พรรษา ปวงประชาสุขศานต์ จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ