ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กังหันน้ำชัยพัฒนา"

 
(ไม่แสดง 6 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 5: แถว 5:
 
<center><h1>กังหันน้ำชัยพัฒนา</h1></center>
 
<center><h1>กังหันน้ำชัยพัฒนา</h1></center>
  
<div class="kindent">กังหันน้ำชัยพัฒนา หรือเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนซ้ายแบบทุ่นลอย เป็นอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียชนิดหนึ่ง มีลักษณะการทำงานคล้ายกังหันวิดน้ำขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อเติมอากศหรือออกซิเจนในแหล่งน้ำ เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยเริ่มเผชิญหน้ากับปัญหาน้ำเสีย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและประดิษฐ์อุปกรณ์เติมอากาศขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๑ แล้วทรงมอบหมายมูลนิธิชัยพัฒนาศึกษาวิจัยเพื่อทำต้นแบบพร้อมสนับสนุนงบประมาณให้กรมชลประทานสร้าง นำไปใช้งานตามแหล่งน้ำเสียเทั่วประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายการจด[[สิทธิบัตร]]การประดิษฐ์เลขที่ ๓๑๒๗ และองค์กรนักประดิษฐ์โลกจากประเทศเบลเยียมได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย[[รางวัลฯ-บรัสเซลส์ยูเรก้า|รางวัลในฐานะที่ทรงสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม]]
+
<div class="kindent">กังหันน้ำชัยพัฒนา หรือเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนซ้ายแบบทุ่นลอย เป็นอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียชนิดหนึ่ง มีลักษณะการทำงานคล้ายกังหันวิดน้ำขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อเติมอากศหรือออกซิเจนในแหล่งน้ำ เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยเริ่มเผชิญหน้ากับปัญหาน้ำเสีย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและประดิษฐ์อุปกรณ์เติมอากาศขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๑ แล้วทรงมอบหมายมูลนิธิชัยพัฒนาศึกษาวิจัยเพื่อทำต้นแบบพร้อมสนับสนุนงบประมาณให้กรมชลประทานสร้าง นำไปใช้งานตามแหล่งน้ำเสียเทั่วประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายการจด[[สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย|สิทธิบัตร]]การประดิษฐ์เลขที่ ๓๑๒๗ และองค์กรนักประดิษฐ์โลกจากประเทศเบลเยียมได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย[[รางวัลฯ-บรัสเซลส์ยูเรก้า|รางวัลในฐานะที่ทรงสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม]]
 
</div>
 
</div>
  
แถว 11: แถว 11:
  
  
<div class="kindent">ในช่วงพุทธศักราช
+
<div class="kindent">ในช่วงพุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นต้นมา ประเทศไทยเริ่มเผชิญปัญหาน้ำเสียที่ส่งผลต่อการทำมาหากินและสุขภาพของประชาชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาหวิธีแก้ปัญหาน้ำเสียและมีค่าออกซิเจนต่ำ ทรงประดิษฐ์อุปกรณ์เติมอากาศหรืออกซิเจนอย่างง่ายและประหยัดโดยประยุกต์จาก หลุก หรือระหัดวิดน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตรทางภาคเหนือ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย โดยการเติมออกซิเจนในน้ำ ๒ วิธี คือ อัดอากาศเข้าไปตามท่อแล้วเป่าลงไปใต้ผิวน้ำให้ฟองกระจาย และให้กังหันวิดน้ำขึ้นเหนือผิวน้ำ แล้วปล่อยให้ตกลงน้ำตามเดิม ทรงมอบ[[มูลนิธิชัยพัฒนา]]ศึกษาวิจัยและสนับสนุนงบประมาณให้สำนักเครื่องกล สังกัดกรมชลประทาน กองทัพเรือ มหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ ทดลองประดิษฐ์กังหันน้ำให้เหมาะสมกับสภาพแหล่งน้ำในประเทศไทย โดยยึดหลักไทยทำไทยใช้ พระราชทานชื่อว่า'''กังหันน้ำชัยพัฒนา''' มีลักษณะเป็น[[เครื่องกลเติมอากาศ]]ที่ผิวน้ำหมุนข้างแบบทุ่นลอย ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chaipattana Low Speed Surface Aerator Model RX-2 รหัส RX-2 มาจาก Royal Experiment หรือการทดลองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลำดับที่ ๒ ต่อจากเครื่องกลเติมอากาศแบบแรกที่ดัดแปลงมาจากอุปกรณ์เติมอากาศในบ่อเลี้ยงกุ้ง และมีใช้ในบ่อน้ำบริเวณ[[โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา]]อยู่ก่อนแล้ว
  
 +
...
 +
 +
พุทธศักราช ๒๕๔๙ คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระราชสมัญญา [[พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย]] พุทธศักราช ๒๕๕๑ สมาพันธ์นักประดิษฐ์นานาชาติ (International Federation of Inventors' Association - IFIA) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศฮังการี ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายถ้วยรางวัลนักประดิษฐ์นานาชาติ
 +
 +
กังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวไทยตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม และต่างชาติตระหนักว่าพระมหากษัตริย์ไทยทรงร่วมคิดค้นทดลองเพื่อแสวงหาแนวทางบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมในโลกปัจจุบัน
 +
</div>
 +
 +
 +
{{ดูเพิ่มเติม|[[เครื่องกลเติมอากาศ]] / [[สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย]] / [[พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย]] / [[รางวัลฯ-บรัสเซลส์ยูเรก้า]]}}
  
  

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:57, 10 พฤศจิกายน 2551

 


กังหันน้ำชัยพัฒนา

กังหันน้ำชัยพัฒนา หรือเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนซ้ายแบบทุ่นลอย เป็นอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียชนิดหนึ่ง มีลักษณะการทำงานคล้ายกังหันวิดน้ำขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อเติมอากศหรือออกซิเจนในแหล่งน้ำ เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยเริ่มเผชิญหน้ากับปัญหาน้ำเสีย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและประดิษฐ์อุปกรณ์เติมอากาศขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๑ แล้วทรงมอบหมายมูลนิธิชัยพัฒนาศึกษาวิจัยเพื่อทำต้นแบบพร้อมสนับสนุนงบประมาณให้กรมชลประทานสร้าง นำไปใช้งานตามแหล่งน้ำเสียเทั่วประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ ๓๑๒๗ และองค์กรนักประดิษฐ์โลกจากประเทศเบลเยียมได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลในฐานะที่ทรงสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม
ภาพจากwww.chaipat.or.th


ในช่วงพุทธศักราช ๒๕๓๐ เป็นต้นมา ประเทศไทยเริ่มเผชิญปัญหาน้ำเสียที่ส่งผลต่อการทำมาหากินและสุขภาพของประชาชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาหวิธีแก้ปัญหาน้ำเสียและมีค่าออกซิเจนต่ำ ทรงประดิษฐ์อุปกรณ์เติมอากาศหรืออกซิเจนอย่างง่ายและประหยัดโดยประยุกต์จาก หลุก หรือระหัดวิดน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตรทางภาคเหนือ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย โดยการเติมออกซิเจนในน้ำ ๒ วิธี คือ อัดอากาศเข้าไปตามท่อแล้วเป่าลงไปใต้ผิวน้ำให้ฟองกระจาย และให้กังหันวิดน้ำขึ้นเหนือผิวน้ำ แล้วปล่อยให้ตกลงน้ำตามเดิม ทรงมอบมูลนิธิชัยพัฒนาศึกษาวิจัยและสนับสนุนงบประมาณให้สำนักเครื่องกล สังกัดกรมชลประทาน กองทัพเรือ มหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ ทดลองประดิษฐ์กังหันน้ำให้เหมาะสมกับสภาพแหล่งน้ำในประเทศไทย โดยยึดหลักไทยทำไทยใช้ พระราชทานชื่อว่ากังหันน้ำชัยพัฒนา มีลักษณะเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนข้างแบบทุ่นลอย ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chaipattana Low Speed Surface Aerator Model RX-2 รหัส RX-2 มาจาก Royal Experiment หรือการทดลองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ลำดับที่ ๒ ต่อจากเครื่องกลเติมอากาศแบบแรกที่ดัดแปลงมาจากอุปกรณ์เติมอากาศในบ่อเลี้ยงกุ้ง และมีใช้ในบ่อน้ำบริเวณโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดาอยู่ก่อนแล้ว

...

พุทธศักราช ๒๕๔๙ คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระราชสมัญญา พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย พุทธศักราช ๒๕๕๑ สมาพันธ์นักประดิษฐ์นานาชาติ (International Federation of Inventors' Association - IFIA) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศฮังการี ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายถ้วยรางวัลนักประดิษฐ์นานาชาติ

กังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวไทยตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม และต่างชาติตระหนักว่าพระมหากษัตริย์ไทยทรงร่วมคิดค้นทดลองเพื่อแสวงหาแนวทางบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมในโลกปัจจุบัน