ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ป่าเปียก"
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
Haiiwiki (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
− | '''พระราชดำริ “ป่าเปียก”''' | + | <div id="bg_g2t"> </div> |
+ | <div id="bg_g2"> | ||
+ | <h3>'''พระราชดำริ “ป่าเปียก”'''</h3> | ||
<div style="display:table"> | <div style="display:table"> | ||
− | [[ภาพ:ป่าเปียก.jpg|left]]ทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้ด้วยการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างแนวป้องกันไฟเปียก (Wet Fire Break) | + | [[ภาพ:ป่าเปียก.jpg|แนวป้องกันไฟเปียก|left]]ทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้ด้วยการใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างแนวป้องกันไฟเปียก (Wet Fire Break) |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงคุณค่าอเนกอนันต์ของน้ำเป็นยิ่งนัก ทรงคำนึงว่าทุกสรรพสิ่งในสภาพแวดล้อมของมนุษย์นั้น จะเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้ หากรู้จักนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ให้ได้ เฉกเช่นเดียวกับพระราชดำริ “ป่าเปียก” เพื่อป้องกันไฟไหม้ป่านั้น จึงเป็นมรรควิธีที่ทรงคิดค้นขึ้นจากหลักการที่แสนง่ายแต่ได้ ประโยชน์มหาศาล กล่าวคือยามที่เกิดไปไหม้ป่าขึ้นคราใดผู้คนส่วนใหญ่ก็มักจะ คำนึงถึงการแก้ปัญหาด้วยการระดมสรรพกำลังกันดับไฟป่าให้มอดดับอย่างรวดเร็ว แต่แนวทางในการป้องกันไฟป่าในระยะยาวนั้นยังดูเลือนลาง | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงคุณค่าอเนกอนันต์ของน้ำเป็นยิ่งนัก ทรงคำนึงว่าทุกสรรพสิ่งในสภาพแวดล้อมของมนุษย์นั้น จะเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้ หากรู้จักนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ให้ได้ เฉกเช่นเดียวกับพระราชดำริ “ป่าเปียก” เพื่อป้องกันไฟไหม้ป่านั้น จึงเป็นมรรควิธีที่ทรงคิดค้นขึ้นจากหลักการที่แสนง่ายแต่ได้ ประโยชน์มหาศาล กล่าวคือยามที่เกิดไปไหม้ป่าขึ้นคราใดผู้คนส่วนใหญ่ก็มักจะ คำนึงถึงการแก้ปัญหาด้วยการระดมสรรพกำลังกันดับไฟป่าให้มอดดับอย่างรวดเร็ว แต่แนวทางในการป้องกันไฟป่าในระยะยาวนั้นยังดูเลือนลาง | ||
ในการวางระบบอย่างจริงจัง พระราชดำริป่าเปียกจึงเป็นพระราชดำริหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแนะนำให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริทำการศึกษาทดลองจนได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ | ในการวางระบบอย่างจริงจัง พระราชดำริป่าเปียกจึงเป็นพระราชดำริหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแนะนำให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริทำการศึกษาทดลองจนได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ | ||
แถว 35: | แถว 37: | ||
{{แม่แบบ:สำนักงาน กปร.3}} | {{แม่แบบ:สำนักงาน กปร.3}} | ||
+ | {{ดูเพิ่มเติม| [[ฝายชะลอความชุ่มชื้น]] / [[ภูเขาป่า]] / [[วิธีปลูกป่าทดแทน]] / [[ทฤษฎีการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก]] / [[ปลูกป่า3อย่างประโยชน์4อย่าง]] / [[การแก้ไขปัญหาน้ำเสีย-เทคโนโลยี]] / [[การแก้ไขปัญหาทรัพยากรดิน]] / [[การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม]] / [[การแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง]] / [[หญ้าแฝก]]}} | ||
+ | |||
+ | |||
+ | </div> | ||
+ | [[หมวดหมู่:แนวพระราชดำริ]] | ||
[[หมวดหมู่:การพัฒนาและฟื้นฟูป่า]] | [[หมวดหมู่:การพัฒนาและฟื้นฟูป่า]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:41, 11 พฤศจิกายน 2551
พระราชดำริ “ป่าเปียก”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงคุณค่าอเนกอนันต์ของน้ำเป็นยิ่งนัก ทรงคำนึงว่าทุกสรรพสิ่งในสภาพแวดล้อมของมนุษย์นั้น จะเกื้อกูลซึ่งกันและกันได้ หากรู้จักนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ให้ได้ เฉกเช่นเดียวกับพระราชดำริ “ป่าเปียก” เพื่อป้องกันไฟไหม้ป่านั้น จึงเป็นมรรควิธีที่ทรงคิดค้นขึ้นจากหลักการที่แสนง่ายแต่ได้ ประโยชน์มหาศาล กล่าวคือยามที่เกิดไปไหม้ป่าขึ้นคราใดผู้คนส่วนใหญ่ก็มักจะ คำนึงถึงการแก้ปัญหาด้วยการระดมสรรพกำลังกันดับไฟป่าให้มอดดับอย่างรวดเร็ว แต่แนวทางในการป้องกันไฟป่าในระยะยาวนั้นยังดูเลือนลาง ในการวางระบบอย่างจริงจัง พระราชดำริป่าเปียกจึงเป็นพระราชดำริหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแนะนำให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริทำการศึกษาทดลองจนได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ
วิธีการสร้าง “ป่าเปียก”
วิธีการแรก : ทำระบบป้องกันไฟไหม้ป่า โดยใช้แนวคลองส่งน้ำและแนวพืชชนิดต่างๆ ปลูกตามแนวคลองนี้
วิธีที่สอง : สร้างระบบการควบคุมไฟป่าด้วยแนวป้องกันไฟป่าเปียก โดยอาศัยน้ำชลประทานและน้ำฝน
วิธีที่สาม : โดยการปลูกต้นไม้โตเร็วคลุมแนวร่องน้ำ เพื่อให้ความชุ่มชื้นค่อยๆ ทวีขึ้นและแผ่ขยายออกไปทั้งสองร่องน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นไม้ งอกงามและมีส่วนช่วยป้องกันไฟป่าเพราะไฟป่าจะเกิดขึ้นหากป่าขาดความชุ่มชื้น
วิธีที่สี่ : โดยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื้นหรือที่เรียกว่า “Check Dam” ขึ้น เพื่อปิดกั้นร่องน้ำหรือลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บ กักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่เก็บไว้จะซึมเข้าไปสะสมในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายเข้าไปทั้งสองด้านกลายเป็น “ป่าเปียก”
วิธีที่ห้า : โดยการสูบน้ำเข้าไปในระดับที่สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วปล่อยน้ำลงมาทีละน้อยให้ค่อยๆ ไหลซึมดิน เพื่อช่วยเสริมการปลูกป่า บนพื้นที่สูงในรูป “ภูเขาป่า” ให้กลายเป็น “ป่าเปียก” ซึ่งสามารถป้องกันไฟป่าได้อีกด้วย
วิธีที่หก : ปลูกต้นกล้วยในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นช่องว่างของป่า ประมาณ 2 เมตร หากเกิดไฟไหม้ป่าก็จะปะทะต้นกล้วยซึ่งอุ้มน้ำไว้ได้ มากกว่าพืชอื่น ทำให้ลดการสูญเสียน้ำลงไปได้มาก
แนวพระราชดำริป่าเปียก จึงนับเป็นทฤษฎีการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้โดยใช้ความชุ่มชื้นเป็นหลักสำคัญที่จะช่วยให้ป่าเขียวสดอยู่ตลอดเวลา ไฟป่าจึงเกิดได้ยากการพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ที่สามารถทำได้ง่ายและได้ผลดียิ่ง
ข้อมูลจาก หนังสืออันเนื่องมาจากพระมหากรุณาธิคุณ
จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ