ปี 2561 : โครงการสร้างแม่ข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

28/10/2019

โครงการสร้างแม่ข่ายการจัดการทรัพยากร ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินงานจนถึงปี พ.ศ. 2561 รวม 15 ชุมชน โดยในปี พ.ศ. 2561 – 2563 ดำเนินงานประเมินติดตามเพื่อรักษาสถานะแม่ข่าย จนครบกำหนด 4 ปี สร้างความเข้มแข็งและความต่อเนื่องในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจนพร้อมมีตัวอย่างความสำเร็จ และจะสิ้นสุดสถานภาพทั้งหมดในปี พ.ศ. 2563 ทั้งนี้ ชุมชนแม่ข่ายปัจจุบัน 15 ชุมชน สามารถประยุกต์ใช้วิจัยและพัฒนาของ ก. เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน เกิดตัวอย่างงานวิจัยที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สนับสนุนการวางแผนและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน เพื่อเพิ่มผลผลิต และเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน ในพื้นที่ชุมชนแม่ข่ายและชุมชนเครือข่าย นำไปสู่การบริหารจัดการด้านทรัพยากรน้ำและการเกษตร ได้ด้วยตนเอง ทั้งในสภาวะปกติ สภาวะวิกฤต และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงานโครงการนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึง ปี พ.ศ. 2561 สามารถขยายผลสู่ 1,573 หมู่บ้าน เกิดพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ 19 แห่ง เกิดตัวอย่างดำเนินงานทฤษฎีใหม่ 243 ครัวเรือน 2,429 ไร่ สามารถแบ่งเครือข่ายชุมชนเป็น 3 ระดับ ดังนี้

ระดับที่ 1:  ได้ด้วยตนเอง

ชุมชนพัฒนาตนเอง เรียนรู้และสามารถ ได้ด้วยตนเอง รวม 1,136 หมู่บ้าน

ระดับที่ 2:  บริหารทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า และเศรษฐกิจชุมชน

ชุมชนสามารถบริหารจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และดำเนินงาน มีปฏิทินการเพาะปลูกสอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ร่วมคิด ร่วมผลิต ร่วมขาย มีรายได้และผลผลิตต่อเนื่องตลอดปี รวม 136 หมู่บ้าน

ระดับที่ 3:  เครือข่ายขยายผลสู่ความยั่งยืน

ชุมชนเป็นต้นแบบขยายผลตัวอย่างความสำเร็จของการบริหารจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า และเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เกิดการขยายผลต่อเนื่อง มีศักยภาพสู่ความยั่งยืน รวม 301 หมู่บ้าน

สำหรับผลดำเนินงานในปี พ.ศ. 2561 ชุมชนสามารถขยายผลการดำเนินงานเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ 243 ครัวเรือน ลดรายจ่ายครัวเรือนได้รวมกว่า 4.70 ล้านบาทต่อปี และเพิ่มรายได้ครัวเรือนรวมกว่า 10.75 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ชุมชนสามารถเพิ่มผลผลิตในฤดูแล้ง จำนวน 8,829 ครัวเรือน และผ่านพ้นอุทกภัย จำนวน 4,310 ครัวเรือน มีมูลค่าผลผลิต 124 ล้านบาท รวมทั้งสามารถบรรเทาปัญหาอุทกภัย 67,968 ครัวเรือน พื้นที่เกษตร 562,916 ไร่ เพิ่มปริมาณน้ำสำรอง 10 ล้านลูกบาศก์เมตร

ตัวอย่างชุมชนตำบลสายนาวัง อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

ชุมชนตำบลสายนาวัง ประสบปัญหาและขาดแคลนน้ำมานานกว่า 38 ปี (ตั้งแต่ พ.ศ. 2511) และขาดการเชื่อมโยงแหล่งสำรองน้ำในพื้นที่ แม้จะมีสายน้ำล้อมรอบชุมชนอยู่ถึง 2 ลำห้วย คือ ลำห้วยสายนา และลำ เหมือนคูน้ำ-คันดินล้อมรอบเมือง ตั้งแต่สมัยทวารวดี ซึ่งชุมชนยังคงรักษาและฟื้นฟู ระยะทาง 10 กิโลเมตร เพิ่มปริมาณน้ำได้ 300,000 ลูกบาศก์เมตร สามารถกระจายน้ำให้ทั้งตำบลสายนาวัง ครอบคลุมพื้นที่ 14,375 ไร

ชุมชนตำบลสายนาวัง ได้ดำเนินงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อกำหนดแนวทางเชิงพื้นที่ โดยร่วมกันสำรวจและเก็บข้อมูลควบคู่กับการใช้แผนที่ดาวเทียม เครื่องระบุพิกัด (GPS) วิเคราะห์และจัดทำข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) สร้างคณะทำงานที่มีศักยภาพในแต่ละด้าน เพื่อร่วมกันดูแลรักษา และบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับภูมิสังคม พร้อมทั้งน้อมนำแนวพระราชดำริมาประยุกต์ใช้กับการฟื้นฟูคูน้ำคันดินและเชื่อมเส้นทางน้ำ เพิ่มความมั่นคงด้านน้ำสำหรับแปลงเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เสริมสร้างความมั่นคงอาหารและรายได้ในครัวเรือนตามลำดับ

แผนที่และผังเส้นทางน้ำชุมชนตำบลสายนาวัง
ลำห้วยสองสายสำคัญของชุมชนตำบลสายนาวัง
อ่างเก็บน้ำห้วยมะโน ขนาดความจุ 5.8 ล้านลูกบาศก์เมตร

ชุมชนตำบลสายนาวัง ได้บริหารจัดการฝายเชื่อมโยงกันเป็นระบบ รวม 15 ฝาย ตลอดลำห้วยสายนาและลำห้วยมะโน ช่วยชะลอและกักเก็บน้ำหลากไว้ในลำห้วย สำหรับทำเกษตรในช่วงฤดูแล้ง โดยฝายแต่ละแห่งทำเป็นระบบเปิด – ปิด ด้วยบานไม้เสียบ เพื่อไล่ระดับกักเก็บน้ำให้สัมพันธ์และสอดคล้องกันทั้งระบบ และมีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำตำบลสายนาวังร่วมกันบริหารจัดการฝายแต่ละแห่ง เพิ่มปริมาณน้ำ 176,750 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ช่วยกระจายน้ำอย่างเป็นธรรม ครอบคลุม 8 หมู่บ้านของตำบลสายนาวัง พื้นที่รับประโยชน์ 2,100 ไร่ จำนวน 300 ครัวเรือน 900 คน

นอกจากนี้ ชุมชนยังได้ประยุกต์หลักคิดตามแนวพระราชดำริเรื่องระบบอ่างพวง บริหารจัดการน้ำร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยเชื่อมต่ออ่างเก็บน้ำและลำห้วย กักเก็บน้ำเข้าสู่สระน้ำประจำไร่นา กว่า 300 สระ เพิ่มปริมาณน้ำทั้งระบบได้ 6.47 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ในตำบลนาคู และตำบลสายนาวัง รวม 24 หมู่บ้าน ประชากร 1,337 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 2,075 ไร่

เชื่อมแหล่งน้ำและเสริมด้วยระบบฝายนำส่งเข้าสู่สระน้ำประจำไร่นา

เกษตรกรในตำบลสายนาวังทำนาปีเป็นหลัก โดยปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ซึ่งมีต้นทุนสูง ทำให้ประสบปัญหาขาดทุนและเป็นหนี้ สูญเสียที่ทำกิน จนชุมชนเริ่มหันกลับมาสู่วิถีเกษตรแบบเดิม (สัมมะปิ) ร่วมกันฟื้นฟูพัฒนา และบริหารจัดการแหล่งน้ำด้วยระบบเหมืองฝาย อ่างพวง ดำเนินงานเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีเกษตรของชุมชน เน้นการพึ่งพาตนเอง ลดรายจ่าย ช่วยเพิ่มผลผลิตและรายได้ตลอดทั้งปี

ตัวอย่างการจัดรูปแปลงเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่

ปัจจุบัน เกษตรกรเปลี่ยนมาดำเนินงานเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ จำนวน 28 ราย โดยจัดรูปที่ดินและแปลงเกษตร วางระบบกระจายน้ำ และวางแผนการเพาะปลูก รวมทั้งขยายผลการดำเนินงานอีก 30 ราย รวมเป็น 58 ราย เพิ่มรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยเดือนละ 7,000 บาท หรือเฉลี่ยปีละ 4,872,000 บาท ลดรายจ่ายครัวเรือนเฉลี่ยปีละ 2,000,000 บาท

ตารางปฏิทินเพาะปลูกของชุมชน

บริหารจัดการแหล่งน้ำภายในพื้นที่แปลงเกษตรช่วยลดภาวะขาดแคลนน้ำต้นทุน
เสริมความมั่นคงด้านน้ำและอาหาร สร้างรายได้ลดรายจ่าย สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

งานอื่นๆ