เทคโนโลยีสำรวจ

| 2,952 views

สสนก. ร่วมกับ หน่วยงาน สถาบันการศึกษา พัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจ เพื่อใช้ติดตามสถานการณ์ สำรวจและเก็บข้อมูลในพื้นที่ ทั้งทางอากาศ ทางน้ำ และทางบก เพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ สนับสนุนการวางแผนบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ลักษณะ UAV    9-1

อากาศยานไร้นักบินขนาดเล็ก (UAV)                                         เรืออัตโนมัติสำหรับงานสำรวจ  

20150212

รถสำรวจระดับความสูงภูมิประเทศ 

อากาศยานไร้นักบินขนาดเล็ก (Unmanned Aerial Vehicle; UAV)

คืออากาศยานที่ไม่มีนักบินประจำการอยู่บนเครื่อง แต่สามารถควบคุมได้จากระยะไกลผ่านระบบควบคุมอัตโนมัติ (Autopilot) เพื่อทำภารกิจต่างๆ ในพื้นที่ที่ยากต่อการเข้าถึง สสนก. ร่วมกับ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พัฒนา UAV ขึ้น โดยพัฒนารูปแบบตัวยานและอุปกรณ์ให้เหมาะสมสำหรับใช้ในการสำรวจระยะไกล และเก็บข้อมูลภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวจากมุมสูง เพื่อสนับสนุนภารกิจในการสำรวจพื้นที่ประสบภัยพิบัติที่ยากต่อการเข้าถึงทั้งทางรถ เรือ และยังสามารถติดตาม สำรวจ เก็บข้อมูลประกอบการทำแผนที่ของพื้นที่ทั้งก่อนและหลังประสบภัยพิบัติ

 

34-1DCIM100GOPRO

ระบบการทำงานของ UAV ที่พัฒนาขึ้นนี้ จะสามารถทำการบินไปยังเป้าหมายได้อัตโนมัติ โดยกำหนดจุดหรือเส้นทางการบิน (Way Point) ก่อนทำการขึ้นบิน และผู้ควบคุมสามารถติดตามสถานะการบินผ่านหน้าจอที่สถานีควบคุมภาคพื้นดิน ทั้งนี้ภายในตัวเครื่อง นอกจากชุดควบคุมการบินแล้ว ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพื่อการสำรวจจากมุมสูง เช่น กล้องบันทึกภาพแบบดิจิตอลเพื่อบันทึกภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวแบบต่อเนื่องอัตโนมัติ และติดตั้ง GPS เพื่อบันทึกตำแหน่งของภาพควบคู่กันไป ซึ่งหากเกิดกรณีฉุกเฉิน UAV จะสามารถบินกลับมายังจุดเริ่มต้นได้โดยปลอดภัย

5   6   7

จากอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ทำให้ UAV เข้ามามีบทบาทสำคัญในการบินสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย เนื่องจากสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้รวดเร็ว การสำรวจสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างช่วยให้การประเมินสถานการณ์ทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยในการควบคุม UAV สามารถควบคุมด้วย remote control จากนักบินที่ภาคพื้นดินหรือควบคุมด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ (Autopilot) และยังมีระบบควบคุมและติดตามการบินจากภาคพื้นดินคอยติดตามการทำงาน พร้อมทั้งรับสัญญาณ

เรืออัตโนมัติสำหรับงานสำรวจและเก็บข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม

สสนก. ร่วมกับ กรมวิทยาศาสตร์บริการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พัฒนา
เรืออัตโนมัติสำหรับงานสำรวจและเก็บข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยได้พัฒนารูปแบบและกลไกของเรือขนาดเล็กให้สามารถบรรทุกเครื่องมือสำรวจ เพื่อการสำรวจรูปตัดลำน้ำ ตรวจวัดดัชนีทางชลศาสตร์และอุทกวิทยา รวมถึงดัชนีคุณภาพน้ำ
การใช้เรืออัตโนมัติในการสำรวจ นอกจากจะช่วยลดภาระและความเสี่ยงให้กับผู้ปฏิบัติงานแล้ว ยังเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน ทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลในเชิงพลศาสตร์เมื่อเปรียบกับการเก็บตัวอย่างหรือข้อมูลแบบเดิม

9 11 12

รถสำรวจระดับความสูงภูมิประเทศ

ข้อมูลระดับความสูงภูมิประเทศ ได้แก่ ระดับคลอง ระดับตลิ่ง ระดับคันกั้นน้ำ ระดับถนน และโครงสร้างอาคารบังคับน้ำต่างๆ ข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญในการนำมาใช้วิเคราะห์สถานการณ์น้ำ และหาแนวทางบริหารจัดการน้ำทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤต

สสนก. ร่วมกับ Institut Cartogràfic de Catalunya (ICC) พัฒนารถสำรวจระดับความสูงภูมิประเทศ ซึ่งเป็นระบบทำแผนที่ระดับความสูงภูมิประเทศแบบเคลื่อนที่ ด้วยระบบ Mobile Mapping System (MMS) โดยประยุกต์รวมระบบระบุพิกัดและทิศทางการเคลื่อนที่ (Orientation) และระบบสำรวจสภาพภูมิประเทศ (Sensor) เพื่อหาตำแหน่งวัตถุ ทำให้สามารถสำรวจและจัดทำแผนที่ระดับความสูงภูมิประเทศได้อย่างรวดเร็ว และอ้างอิงกับระดับทะเลปานกลาง (Mean sea level) ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

อุปกรณ์ในระบบ MMS ประกอบไปด้วย

  1. ระบบระบุพิกัดและทิศทางการเคลื่อนที่ (Orientation)
    ระบบหาตำแหน่งด้วยสัญญาณดาวเทียมแบบ GNSS (GNSS Antennas)
    ระบบหาตำแหน่งทิศทางการเคลื่อนที่และการโคลงตัว (Inertial Measurement Unit: IMU)
    ชุดควบคุมอุปกรณ์และประมวลผลข้อมูล (SPAN Controller)
  2. ระบบสำรวจสภาพภูมิประเทศ (Sensor)
    เครื่องหาตำแหน่งวัตถุด้วยเลเซอร์ (Laser Measurement System)
    ระบบถ่ายภาพเพื่อบันทึกภาพวัตถุ

20150212-_49A1999 20150212-_49A1975