สสน.นำคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรฯ ลงพื้นที่โครงการลุ่มน้ำลำเชียงไกร ใต้แผนการปฏิรูปประเทศฯ


วันที่ 14 – 15 พ.ค. 2562 ดร.รอยล จิตรดอน  ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประธานคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นายสัญชัย เกตุวรชัย รองประธานอนุกรรมการฯ, ดร.สุทัศน์ วีสกุล  ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน.

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน, นายทวี เสริมภักดีกุล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ เรื่อง ทรัพยากรน้ำที่มีความจำเป็นเร่งด่วน (Quick Win) ฟื้นฟูลุ่มน้ำลำเชียงไกร ณ บริเวณประตูระบายน้ำปากจาบ ต.โคกเริงรมย์ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ

พร้อมด้วย ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้แทนกรมทรัพยากรน้ำ  ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  ดร.สุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร เลขานุการฯ, ดร.ภัทราภรณ์ เมฆพฤกษาวงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการฯ , พลโท ธัญญา เกียรติสาร แม่ทัพภาคที่ 2 , พันเอก สุรชิน กาญจนจิตติ รอง ผบ.บชร.2 และ เลขาธิการศูนย์บริหารจัดการน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทภ.2 ตลอกจน ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  คณะผู้ติดตามจากหน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น และประชาชน

สำหรับการลงพื้นที่ของคณะปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้ เป็นการสำรวจสภาพลำคันฉู-ลำเชียงไกร เพื่อเชื่อมโยงแหล่งน้ำ ระหว่างจังหวัดชัยภูมิกับจังหวัดนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการในภาวะวิกฤต น้ำแล้ง -น้ำท่วม นำไปสู่การกำหนดแนวทางการดำเนินฟื้นฟูลุ่มน้ำลำเชียงไกรร่วมกันทุกหน่วยงาน เกิดเป็นการพัฒนาการจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ ในรูปแบบ Area Based อย่างยั่งยืน

และหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ในวันที่ 15 พ.ค. ณ ห้องประชุม 1 กองบัญชาการ กองทัพภาคที่ 2 อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา  หน่วยงาน ชป.  ทน.  สถ. กองทัพภาคที่ 2  สสน.  และจังหวัดนครราชสีมา  จะร่วมกันจัดทำแผนงานฟื้นฟูลุ่มน้ำลำเชียงไกร ระยะดำเนินโครงการ 2 ปี เร่งดำเนินการในพื้นที่ที่มีความพร้อม โดย สทนช. เป็นหน่วยงานบูรณาการแผนงานให้เกิดการเชื่อมโยงทั้งระบบ เป็น “พื้นที่แบบอย่างด้านการปฏิรูปทรัพยากรน้ำ” เกิดการทำงานโดย “ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง”  ผสานการทำงานแบบ “ข้ามกรมข้ามกระทรวง”  และเน้นการ “ร่วมคิดและร่วมลงมือทำของประชาชน” ในพื้นที่ ต่อไป

ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่   https://bit.ly/2VsrSCG